ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถในการบริหารความหลากหลาย ในบริบทของการรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านเจนเนอเรชั่น ของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปริยาภัทร พรหมคีรี
จันทนา แสนสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบอิทธิพลของความสามารถในการบริหารความหลากหลายที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริหารความหลากหลายของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อทดสอบบทบาทของการรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านเจนเนอเรชั่นที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการบริหารความหลากหลายของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณผ่านการเก็บแบบสอบถาม (อิเล็กทรอนิกส์) จากผู้บริหาร งานบุคคลในชมรมบริหารงานบุคคลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 118 องค์กร ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ไฮเทค นครหลวง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ แฟคเตอรี่แลนด์วังน้อย และ โรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอย


ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ความสามารถในการบริหารความหลากหลาย มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเป็นเลิศด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการบริหารความหลากหลาย และ 3) การรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านเจนเนอเรชั่น ไม่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการบริหารความหลากหลายของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารงานบุคคลสามารถนำไปปรับใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถการจัดการความหลากหลายผ่านกระบวนการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเท่าทันยุคสมัย เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Article Details

How to Cite
พรหมคีรี ป. ., & แสนสุข จ. . (2023). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถในการบริหารความหลากหลาย ในบริบทของการรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านเจนเนอเรชั่น ของผู้บริหารงานบุคคลในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(2), 304–316. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/267706
บท
บทความวิจัย

References

กล้วยไม้ วันทนัง. (2563). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(2), 46-61.

เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช. (2562). ความหลากหลายในที่ทำงาน. บทความวิชาการคณะจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวุฒิ วงศ์กาฬสินธุ์. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ: กรณีศึกษาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เถลิงศักดิ์ กลางสาทร. (2560). ความแตกต่างทางเจเนอเรชั่นที่มีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการความหลากหลายของบริษัท ทีบีเคเค(ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิภาพร ลิ้มเฉลิม. (2561). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นเลิศของสภากาชาดไทยตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ปริญญานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พนิดา นิลอรุณ และคณะ. (2560). การบริหารความหลากหลายกับประสิทธิผลของทีมงาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 238-239.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 364-337.

วสันต์ ชวลิตวรกุล. (2560). การศึกษาถึงปัจจัยด้านการบริหารความหลากหลาย (Diversity Management) ที่มีผลต่อการนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (Hi-Performing Organization) ขององค์กรรัฐวิสากิจ (State Owned Enterprise) ในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภกิจ จันทร์ตรี. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นําและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 206–213.

สมพร ปานยินดี และคณะ. (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(148), 72-75.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (1), 1643-1660.

Acc_sriphat (นามแฝง). (2555). การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management). สืบค้น 7 พฤษภาคม 2565. จาก http://accsriphat.blogspot.com/2012/02/diversity-management.html.

Cox, T. H., J. R. (1994). Cultural Diversity in Organizations: Theory, Research & Practice. San Francisco, CA: Berrett- Koehler.