ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสา ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและเพื่อศึกษาตัวแบบสำหรับการพยากรณ์เจตคติของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ 1 จังหวัดสระแก้ว จำนวน 34 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเครื่องมือที่ใช้
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีเชิงสถิติ ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่าเพศ สาขาวิชา และระดับชั้นปีการศึกษาของนักศึกษาครูที่แตกต่างกันมีผลต่อเจตคติเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไม่แตกต่างกัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าด้านรูปแบบกิจกรรมจิตอาสา ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และด้านประโยชน์ที่ได้รับมีอิทธิพลต่อเจตคติเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.050 นอกจากนี้ยังพบว่า
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเจตคติเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสามีความสัมพันธ์เชิงบวกที่เป็นเส้นตรง ซึ่งด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์สามารถอธิบายความผันแปรของเจตคติเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาได้ร้อยละ 55.200 ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาโดยเน้นการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาครูที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมจิตอาสาอื่น ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1. (2565). โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สืบค้น 9 มีนาคม 2565. จาก http://www.school.bpp1.go.th/.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติจิตอาสาในประเทศไทย. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.dop.go.th/th/know/13/1676.
ชลธิชา ชลสวัสดิ์, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย และสุธิดา ธีระพิทยานนท์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารพยาบาล, 69(2), 1-10.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี, มานี แสงหิรัญ, อำนาจ สุวรรณสันติสุข, สุกัญญา รุจิเมธาภาส, และสุมิตรา โรจนนิติ. (2558). การศึกษาระดับเจตคติต่ออาชีพครู ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติต่ออาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2555. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(2), 104-112.
วรพงษ์ วิชาญ และชัยธัช จันทร์สมุด. (2563). ความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 68-75.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ฮาซัน พริ้นติ้ง.
ศิริสุข นาคะเสนีย์, ชุลี ปัญจะผลินกุล และศศิวิมล โมอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(1), 80-90.
ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2561). พลังจิตอาสาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
Bandura, A. (1986). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Christman, L.P. & Counte, M.A. (1981). Hospital Organization and Health Care Delivery. Boulder, Colorado: Westview Press.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York, USA: McGraw-Hill.
Kraft, R.J. (1996). Service Learning: An Introduction to its Theory, Practice and Effects. Education and Urban Society, 28(2), 131-159.
Loudon, D.L. & Della Bitta, A.J. (1993). Consumer Behavior: Concepts and Applications. New York, USA: McGraw-Hill.
Sherif, C.W. & Sherif, M. (1967). Attitude, Ego-Involvement, and Change. New York, USA: John Wiley and Sons.