การพัฒนาแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) วิเคราะห์แผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อนำเสนอคู่มือแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้แทนประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหมด 10 อำเภอ ๆ ละ 100 คน รวมจำนวน 1,000 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแนวทางการพัฒนากลยุทธ์สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษากลยุทธ์การดำเนินงานตามเป้าหมายโครงการคนดี ศรีสุพรรณจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนา กลยุทธ์การดำเนินงานตามเป้าหมายโครงการคนดีศรีสุพรรณ ตามกลยุทธ์ทั้ง 5 กลยุทธ์ พบว่า กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันทุกข้อ โดยข้อคำถามมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมากและแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสรุปกลยุทธ์ได้ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 จำนวน 6 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 จำนวน 8 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 จำนวน 3 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 4 จำนวน 7 ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ที่ 5 จำนวน 7 ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 31 ตัวชี้วัด 3) คู่มือแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี มีความเหมาะสม ต่อการนำไปใช้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ ม่วงสุข และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2561). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2), 30-40.
กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด และสุพร กาวิน. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 1-12.
ทัศนีย์ กำเนิดสิงห์. (2555). องค์ประกอบการจัดการเชิงกลยุทธ์. สืบค้น 8 กันยายน 2559. จาก https://www.gotoknow.org/posts/454879%E0%B8%87.
ลลนา ลีระพันธ์ และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2558). กลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(3), 400-414.
วศินี พิเดช. (2556). แผนกลยุทธ์การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเขตภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(3), 82-97.
วัฒนา ฉิมประเสริฐ. (2554). การพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัยของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมศรี คำภีระ และคณะ. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในจังหวัดตาก. สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22(1), 119-131.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เอกสารประกอบการอบรม). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Macmillan, Thomas T. (1971). “The Delphi Technique.”, Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California.
Mintzberg Henry. (1994). The Rise and Fall of Strategic Planning. Great Britain: Prentice Hall Europe.