การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยแนวคิด POSDCoRB
Main Article Content
บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรถือเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบหนึ่งที่เจ้าของสวนจัดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวนผลไม้ โดยมีที่พัก กิจกรรม สถานที่ถ่ายรูป และความบันเทิงให้บริการแก่ลูกค้า โดยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีจุดมุ่งหมายให้ลูกค้าที่สนใจได้สัมผัสกับธรรมชาติ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมในชนบท ผ่านกิจกรรมนันทนาการและการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การทำสวน ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงดิน การใช้ปุ๋ย การกำจัดแมลง การขยายพันธุ์พืช รวมไปถึงการดูแลพืชพรรณ การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งช่วยให้ก่อเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นและยังเป็นการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านหรือเกษตรกรภายในท้องถิ่นที่สนใจอีกด้วย การท่องเที่ยวเชิงเกษตรถือเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวเจริญเติบโตขึ้น โดยการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนนั้นผู้ประกอบการจะต้องนำหลักแนวคิดการจัดการ “POSDCORB” คือ 1) Planning (การวางแผน) 2) Organizing (การจัดองค์การ) 3) Staffing (การจัดการทรัพยากรมนุษย์) 4) Directing (การอำนวยการ) 5) Coordinating (การประสานงาน) 6) Reporting (รายงานผล) และ 7) Budgeting (งบประมาณ) ของ Gulick มาใช้ในการจัดการสวนของตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ตามความถนัด โดยแบ่งงานให้เป็นตามกระบวนการ วัตถุประสงค์และหน่วยงานภายในตามหน้าที่หรือกิจกรรม มีสายการบังคับที่ชัดเจน มีกรอบงบประมาณเป็นตัวควบคุม และสุดท้ายติดตามและประเมินผลการดำเนินการ (Monitoring and Evolution) เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมบรรลุเป้าหมายและผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานี ภาคอุทัย. (2562). คู่มือการติดตามและประเมินผลโครงการ. (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพมหานคร: กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์. (2558). ต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย, 35(1), 103-124.
ยุพา แซ่ชื้อ และคณะ. (2561). การสื่อสารเพื่อการประสานความร่วมมือในงานส่งเสริมการเกษตร. (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพมหานคร: คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะ นักส่งเสริมการเกษตรระดับชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมาร์ทเอสเอ็มอี. (2559). คาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรโต 8-9%. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.smartsme.co.th/content/39166.
สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิทยาพัฒน์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). KOFC เปิดมุมวิเคราะห์รายได้ภาคเกษตร หลังรัฐดันท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทยช่วงวันหยุดยาว. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.ryt9.com/ s/prg/2464477.
Castetter, W. (1976). The personnel function in educational administration. (2nd ed.). New York: Macmillan.
Parnav, K. (n.d.). Reporting to management: Meaning, objects and essentials. Retrieved February 24, 2020.from http://www.yourarticlelibrary.com /accounting/management-accounting/reporting-to-management-meaning-ob jects-and-essentials/62530.
Urwick, L. (1973). The function of administration. In L. Gulick and L. Urwick (Eds.), Papers on the Science of Administration (pp.116–130). New York: Institute of Public Administration.
World Bank. (2004). Monitoring & evaluation: Some tools, methods and approaches. Washington, DC: Author.