ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สำหรับครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก

Main Article Content

เรืองชัย พจนี
ต้องลักษณ์ บุญธรรม

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก และ 2) การจัดลำดับความต้องการจำเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จังหวัดนครนายก จำนวน 339 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบการตอบสนองคู่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)


              ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูมัธยมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.54, S.D. = 0.95) สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูมัธยมศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.14,S.D. = 0.89) และ 2) การจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูมัธยมศึกษา ตามการจัดลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุด ได้แก่ 1) ด้านเป้าหมายการสอนสะเต็มศึกษา (PNIModified = 0.206) 2) ด้านกลวิธีการสอน (PNIModified = 0.186) 3) ด้านความเข้าใจในผู้เรียน (PNIModified = 0.167) และ 4) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ (PNIModified = 0.126) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
พจนี เ., & บุญธรรม ต. . (2021). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สำหรับครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 285–299. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/254666
บท
บทความวิจัย

References

กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทาง สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ใน รายงานการวิจัย.เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2561). หันมองการผลิตและพัฒนาครูของประเทศไทยผ่านเลนส์ของนักครุศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 291-301.

เทอดชัย บัวผาย, วิญญู อุตระ, ฐิติมา ผ่องแผ้ว และวรปภา อารีราษฎร์. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็ม ศึกษาที่บูรณาการสู่การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรม. 4(1), 174-183.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรูตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยวรรณ ทศกาญจน์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา เรื่องบ้านพยากรณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 33(2), 49-56.

พันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใส และชาญชัย สิมปิยาภร. (2558). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคสะเต็มศึกษา. ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รติพร สุดเสนาะ. (2556). ทำไมต้องเป็นการเรียนรู้แบบ STEM Education. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2564. จาก htpp://lekratiporn.wordpress.com/type/video.

รสริน พันธุ. (2562). รูปแบบการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วรกันยา แก้วกลม. (2560). สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของ ครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับ การวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). Academic Focus สะเต็มศึกษา. สืบค้น 12 มกราคม 2564. จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/ jun2559-5.pdf.

สาวิตรี สิทธิชัยกานต์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์สะเต็มศึกษาภาค. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 17-32.

อนุศร หงษ์ขุนทด. (2558). ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK). สืบค้า 24 เมษายน 2564. จาก http://pitcforteach.blogspot.com/2015/03/ tpack-model.html. Magnusson et al. (1990).

Laisema, S., & Wannapiroon, P. (2014). Design of Collaborative Learning with Creative Problem-solving Process Learning Activities in a Ubiquitous Learning Environment to Develop Creative Thinking Skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116, 3921- 3926.

Phumeechanya, N., & Wannapiroon P. (2014). Design of Problem-based with Scaffolding Learning Activities in Ubiquitous Learning Environment to Develop Problem-solving Skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116, 4803-4808.