ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเครื่องวัดความดันโลหิต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วัชรพงษ์ พนิตธำรง

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยประชากร ศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริโภคที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%


     ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-50,000 บาท การทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคที่แตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมการตลาด มีระดับความสำคัญต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ และการทดสอบสมมติฐานส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนประสมการตลาด จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   

Article Details

How to Cite
พนิตธำรง ว. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเครื่องวัดความดันโลหิต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 133–145. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/254291
บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรและกราฟฟิคดีไซน์.

กองสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เครื่องวัดความดันโลหิต. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

ฉลาดซื้อ. (2564). เครื่องวัดความดันโลหิต (นิตยสารออนไลน์, ฉบับที่ 179). สืบค้น 12 มีนาคม 2564. จาก https://www.chaladsue.com/article/552/เครื่องวัดความดันโลหิต.

รัตนา ชัยกัลยา. (2558). วัฒนธรรมผู้แทนขาย จริยธรรมผู้แทนขาย และการตลาดสัมพันธ์ที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์ของลูกค้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(3). 63-74.

สาธิตา ปานขวัญ และชัยยศ อินทร์ติยะ. (2557). คุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล เขตสุขภาพที่ 4. วารสารชุมนุมนักวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย, 1(1), 12–25.

อรณิสา อิสสรานนท์, เรือนขวัญ กัณหสิงห์ และ สวณี เต็งรังสรรค์. (2563). ระดับความรู้เรื่องการวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้านของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย. วารสารศรีนครินท์เวชสาร. 35(1), 38-43.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ และ ภัทระ แสนไชยสุริยา. (2564) การศึกษาความพร้อมการจัดบริการคัดกรองโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์แบบอัตโนมัติในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารควบคุมโรค, 47(2), 278-288.

Bhavyasri, D., Manikandan, K., & Kamaraj, R. (2019). Marketing Approval for Medical Devices in European Union. Research Journal of Pharmacy and Technology, 12(1), 391-395.

Himmelfarb, C. R. D., Commodore-Mensah, Y., & Hill, M. N. (2016). Expanding the role of nurses to improve hypertension care and control globally. Annals of Global Health, 82(2), 243-253.

Kerin, R., & Hartley, S. (2019). Marketing. 14th ed. New York: McGraw-Hill.

Kotler, P. and Armstrong, G., (2018). Principles of marketing. (17th ed). Harlow: Pearson.

Kotler, P. and Keller K.L. (2016). Marketing Management. (15th ed). Edinburgh: Pearson.

Sim, M. J. (2020). Globalization and Transnational Corporations: Innovative Transnational Business Model for Medical Device Industry in the 21st Century (Doctoral dissertation). Massachusetts: University of Massachusetts Lowell.