การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแพร่ตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2566-2570

Main Article Content

วัชรี เลขะวิพัฒน์
วิลาสินี บุญธรรม
สรัญญา โชติรัตน์
ประไพพรรณ กิ้วเกษม

บทคัดย่อ

         ประเด็นการวิจัยเพื่อพัฒนาจังหวัดแพร่มีข้อค้นพบและองค์ความรู้จำนวนมาก แต่ยังขาดการสังเคราะห์องค์ความรู้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแพร่ 2) สังเคราะห์ผลการวิจัยและข้อค้นพบงานวิจัยในพื้นที่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแพร่ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่จังหวัดแพร่ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยการรวบรวมงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และบทความวิจัยที่เผยแพร่ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2566 จำนวน 250 เรื่อง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบบันทึกการสกัดข้อมูล การสังเคราะห์งานวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ การสังเคราะห์งานวิจัยเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ปี พ.ศ. 2566–2570 พบว่าองค์ความรู้จากการวิจัยส่วนใหญ่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจังหวัดแพร่ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการท่องเที่ยว ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่ 1 เน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และจัดการห่วงโซ่อุปทาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ควรประเมินศักยภาพแหล่งการท่องเที่ยวและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์ที่ 4 เน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ บริการสาธารณสุข การมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นผลการสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแพร่  จึงทำให้เห็นภาพรวมขององค์ความรู้ในพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้นซึ่งเป็นฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายได้

Article Details

How to Cite
เลขะวิพัฒน์ ว. ., บุญธรรม ว. ., โชติรัตน์ ส. ., & กิ้วเกษม ป. . (2024). การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแพร่ตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2566-2570. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(3), 653–667. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/278411
บท
บทความวิจัย

References

กิติยาภรณ์ ยุสินธุ์, สมพงษ์ ปั้นหุ่น และสุรีพร อนุศาสนนันท์. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคทางการเรียน: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2), 124-142.

จันจิรา แก้วอ่อน, ภูวเดช ธนิชานนท์ และสมกมล รักวีรธรรม. (2565). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านนาคูหา จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 3(3), 11-25.

ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(1), 163-178.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน META-ANALYSIS. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2565). คุณภาพ คุณค่า และคุณประโยชน์ของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทั่วประเทศ: การสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นช่วง 15 ปี. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 35(2), 117-141.

พัทธ์ธีรา สถิตย์ภาคีกุล, อนันต์ ธรรมชาลัย และเกียรติชัย วีระญาณนนท์. (2563). การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 13-29.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, ฆนธรส ไชยสุต, พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ และหนึ่งหทัย ชัยอาภร. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2559. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 275-289.

สหัทยา วิเศษ, สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, ทิพาภาณ์ เยสุวรรณ์, จอมพณ สมหวัง และปาณิสรา เทพรักษ์. (2565). การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภาคเหนือตอนบน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 8(1), 143-159.

สุมิตรา ลิ้มสุวัฒน์. (2564). การวิเคราะห์อภิมานในงานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 16(3), 233-245.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(2), 89-106.

สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแพร่. (2564). ข้อมูลทั่วไปจังหวัด. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2567. จาก https://phrae.moc.go.th/th/content/page/index/id/1055.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). แผนพัฒนสถิติระดับจังหวัด (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/province/download_file/Fa/th.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. สืบค้น 31 มกราคม 2567. จาก https://shorturl.asia/lkETB.

อรประภัสร์ สร้อยเสนา, ต่อลาภ คำโย, ปัญจพร คำโย และอิสรีย์ ฮาวปินใจ. (2565). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริฯ. วารสารวนศาสตร์ไทย, 41(2), 27-38.

เอนก ชิตเกษร และเทียน เลรามัญ. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2549–2559 เพื่อการจัดการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 14(1), 41-58.

Gilson, L. (2014). Qualitative research synthesis for health policy analysis: What does it entail and what does it offer?. Health Policy and Planning, 29(Suppl. 3), iii1-iii5.