การสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีแพลตฟอร์มหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดมหาชน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยมาตรฐานระบบเปิดในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต โดยการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยมาตรฐานระบบเปิดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC) ในการยกระดับการสอน ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่ถูกนำไปใช้ในวงกว้าง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของแพลตฟอร์มหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดมหาชนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC) และ 2) ศึกษาผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี (RUS MOOC) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จำนวน 3 ท่าน และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 4 ศูนย์พื้นที่คือ 1) ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา 2) ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี 3) ศูนย์นนทบุรี และ 4) ศูนย์สุพรรณบุรี จำนวน 104 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างแพลตฟอร์มหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดมหาชนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC) ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบย่อย ได้แก่ 1) ระบบจัดการบัญชีผู้ใช้งาน 2) ระบบจัดการหลักสูตรระยะสั้น 3) ระบบประเมินการสอนออนไลน์ 4) ระบบเชื่อมโยงหลักสูตรกับสื่อสังคมออนไลน์ และ5) ระบบรายงานและตรวจสอบย้อนกลับ 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของแพลตฟอร์มหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดมหาชนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RUS MOOC) โดยผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จำนวน 3 ท่าน พบว่า แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.51) และ 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีแพลตฟอร์มดังกล่าว มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.76)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจน์ ณ ศรีธะ, จิติมนต์ อั่งสกุล และธรา อั่งสกุล. (2565). การพัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัยในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(4), 84–97.
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. Journal of Humanities and Social Sciences, CMRU, 1(1), 64-70.
ณฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3),1463-1479.
ธงชัย อรัญชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. Journal of Industrial Education, 15(2), 80-85.
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19 จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร.สืบค้น 4 ธันวาคม 2563. จาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown.
ภัทรนันท์ ไวทยะสิน. (2562).“เปลี่ยน” ผู้เรียนเป็นนวัตกร นวัตกรรมใหม่ของการเรียนการสอนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ECT Journal, 14(17), 37-51.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2561). การศึกษาออนไลน์ ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ. แพร่: หจก.แพร่อุตสาหกรรมการพิมพ์.
อภิชาติ รอดนิยม. (2564). เทคโนโลยีการ ศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในยุคใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 123-133.
Al-Adwan, A. S. (2020). Investigating the drivers and barriers to MOOCs adoption: The perspective of TAM. Education and information technologies, 25(6), 5771-5795.
Harvard University, & Massachusetts Institute of Technology. (2016). MOOCs. Retrieved Aug 1, 2022, from http://mooc.org/.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: John Wiley & Sons.
Tawafak, R. M., Malik, S. I., & Alfarsi, G. (2020). Development of framework from adapted TAM with MOOC platform for continuity intention. Development, 29(1), 1681-1691.
Abeer, W., & Miri, B. (2014). Students’ preferences and views about learning in a MOOC. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 152, 318-323.
Yamamoto, T., Sasaki, T., & Hayashida, S. (2015). MOOC Based Educational Model for Pre-University Writing Program. In International Symposium on Grids and Clouds (ISGC). 15(20).