การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และเส้นทางผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์แพะ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และเส้นทางของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากแพะในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แพะในร้านอาหารที่จำหน่ายเมนูแพะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 943 ตัวอย่าง จำแนกเป็นคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญก่อนและหลัง
การสร้างการรับรู้ (ก่อนวิจัย จำนวน 523 ตัวอย่าง และหลังวิจัย 400 ตัวอย่าง) และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างลูกค้าแบบเจาะจงจำนวน 20 ราย สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อวิเคราะห์เส้นทางผู้บริโภค ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้บริโภคแพะดั้งเดิม เป็นคนในพื้นที่ มีอำนาจซื้อ ทราบคุณประโยชน์ทางโภชนาการ เลือกบริโภคเพราะตัวผลิตภัณฑ์ และรสชาติ และ 2) กลุ่มผู้บริโภคใหม่ เหตุผลที่เดิมไม่บริโภค เนื่องจาก ไม่เคยเห็นตัวผลิตภัณฑ์ และไม่กล้ารับประทาน โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภค ได้แก่ ตัวสินค้า รองลงมาคือ การส่งเสริมการตลาด/ประชาสัมพันธ์ ราคา สถานที่จำหน่าย ภาพลักษณ์ของร้านค้า ครอบครัว/เพื่อน การให้บริการ และพนักงานร้าน ตามลำดับ เส้นทางของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคเริ่มต้นเส้นทางจากการรับรู้ข้อมูล Social Media
ของเพจร้านค้า และเพจประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนดึงดูดใจ ผู้บริโภคเริ่มหาข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่เคยบริโภค และค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง ผ่านสื่อ Social Media ขั้นตอนความเชื่อ กลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่จะมีความสนใจ อยากลอง จากแรงกระตุ้นของกระแส Soft Power สู่ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ และนำมาสู่ขั้นตอนการแนะนำบอกต่อผลิตภัณฑ์จากแพะ ให้กับคนที่ใกล้ชิด โดยองค์ความรู้ที่ได้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการร้านค้า สามารถนำไปสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงความต้องการของลูกค้า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร ภาคีฉาย, ชุตินันท์ วิลามาศ, ปราชญ์ พวงเงิน, จารุณี ทองอร่าม และกนกกาญจน์ กล่อมเกลา. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์จากแพะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(1), 239-252. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/276221.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. อมรินทร์พริ้นติ้งท์.
ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ และอุทัย ยะรี. (2566). การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อบรรลุเส้นทางผู้บริโภคในยุค New Nornal. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 205-214. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/ article/view/259309.
ทวีทรัพย์ นาคา, นงนภัส ทองทูล, นันธินี เหรวรรณ, เมธิษา คำเมืองมูล, ศุภณัฐ อ่ำดอนกลอย และจารุพร ตั้งพัฒนกิจ. (2565). การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ในธุรกิจร้านอาหาร. วารสารการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 15(1), 1–15. https://so01.tci-thaijo.org/index.php /faakmutnb/article/view/255648/174624
.
ปวรพล สอนระเบียน และสุทธนิภา ศรีไสย์. (2566). เส้นทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 9(1), 1-17. https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jcmn/article/view/517.
ปฏิพร ภมร และธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์. (2567). การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของธุรกิจร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์เกาหลี แบรนด์ซูกิชิ ในจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 30(1), 79-91. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/270748
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. ส.เอเชียเพรส.
รภัสศา นนทวงษ์ และสุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2566). อิทธิพลของการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 7(2), 129-142. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/266346/179348.
รุจาภา แพ่งเกษร. (2566). พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลในการรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจซื้อสินค้าและใช้บริการ. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 19(2), 129-143. https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/372/280.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนการทัศน์ทางเลือก. สยามปริทัศน์.
วรธร ศิริวรรณ และศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(2), 405–420. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268791/183 700.
วิศนันท์ อุปรมัย และประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2566). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับร้านขนมไทยในนยุคปกติวิถีใหม่. วารสารเกษมบัณฑิต, 24(1), 1-17. https://so04.tci-thaijo .org/index.php/jkbu/article/view/261000/179298.
สุภกร ตันวราวุฒิชัย และบุญไทย แก้วขันตี. (2564). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความสามารถด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 23–40. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/ 245016.
หัว เซิง เหว่ย, บุญฑวรรณ วิงวอน และมนตรี พิริยะกุล. (2566). อิทธิพลของสังคมออนไลน์และความพึงพอใจเป็นปัจจัยคั่นกลางของการตลาดแบบผสานทุกช่องทางไปสู่ความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคในธุรกิจออนไลน์มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(4), 75–96. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/259854.
Court, D., Elzinga, D., Mulder, S., & Vetvik, O. J. (2009). The consumer decision journey. McKinsey Quarterly, 3(1), 1-11.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). GPower 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191. http://doi:10.3758/BF03193146.
Field, A. (2013). Discovering Statistics Using IBM SPSS Statistics (4 th ed.). Sage Publications.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15 th ed.). Pearson.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2016). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. Wiley.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (11 th ed.). Prentice-Hall.
Lemon, K. N., & Verhoef, P. C. (2016). Understanding customer experience throughout the customer journey. Journal of Marketing, 80(6), 69-96. https://doi.org/10. 1509/jm.15.0420.
Makowska, M., Boguszewski, R., & Hrehorowicz, A. (2024). Generational Differences in Food Choices and Consumer Behaviors in the Context of Sustainable Development. Foods, 13(4), 521. https://doi.org/10.3390/foods13040521.
Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. L. (2019). Consumer Behavior (12 th ed.). Pearson.
Solomon, M. R. (2018). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being (12 th ed.). Pearson.
Tuckman, B. W. (1999). Conducting Educational Research (5 th ed.). Harcourt Brace.