การจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา (1) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อนำเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง เลือกเป็นตัวอย่าง 3 แห่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้บริหารบริษัทเซ็นทรัล กรุ๊ป ผู้บริหารบริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหารบริษัทหัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 36 คน ที่คัดเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยนำเข้าประกอบด้วยหลักสูตรส่วนมากเป็นสาขาทางด้านอุตสาหกรรม เป็นหลักสูตรระยะสั้น และเป็นลักษณะเฉพาะ และปัจจัยนำเข้าอื่น ๆ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำการ ครูผู้ช่วย วิทยากร อาคาร สถานที่ อุปกรณ์ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ มีค่าธรรมเนียมในการเรียนที่ราคาถูกมาก ด้านปัจจัยกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริงในหลักสูตรทุกหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้น เรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์รอบเช้า บ่าย ค่ำ และหลักสูตรวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ มีการเรียนการสอนเพิ่มเติมเสริมคุณธรรมและบุคลิกภาพให้เหมาะสมและเป็นอัตลักษณ์กับสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ปัจจัยด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผลการเรียนดี มีทักษะ เสริมคุณธรรม เพิ่มเติมบุคลิกภาพ และจบการศึกษาไปแล้วมีงานทำ มีรายได้มีอาชีพ (2) ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครควรร่วมมือกับภาคเอกชน และควรปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาชีพใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้า แพลตฟอร์มดิจิทัล การค้าขายออนไลน์ รวมทั้งสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับผู้สูงอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). กฎกระทรวงมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. สืบค้น 12 กันยายน 2565. จาก http://www.Rachaki+ cha.soc.go.th.
กรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาชุมชน. (2565). โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 12 กันยายน 2565. จาก http://www.bmatraining.ac.th.
จินตนา ไทธานี. (2557). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงนุช ชมภูเทพ. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมอาชีพ ของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษาและทุรกันดาร เขตภาคเหนือฝั่งตะวันตก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103–118.
ปฎาชมัย ทองชุมนุม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการ
ประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาส. นครปฐม:
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (2565). คู่มือการศึกษาอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนา ผู้นำเมือง รุ่นที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์ Journal of Teacher Professional Development. 2(2), 93-106.
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2565). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สืบค้น 12 กันยายน 2565. จาก http://www. pim.ac.th.
สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สภาพัฒน์ฯ เผยไตรมาศ 2 สถานการ์แรงงาน จ้างงานดีขึ้น ทุกกลุ่มอาชีพ พบหมดปัญหาหมดไฟการทำงาน. สืบค้น 3 ตุลาคม 2565. จาก http://www.workpointoday.com.
สุพจน์ อิงอาจ. (2563). การศึกษา 5.0 ภาพอนาคตของประเทศไทย. สืบค้น 12 กันยายน 2565. จาก http://www.matichon.co.th.
สุวิชญา ชินธนาชูกิจ. (2563). กลยุทธ์การพัฒนา การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียน
การศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2), 111-125.