สื่อสารทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งอย่างไร ได้ใจ ได้เสียง

Main Article Content

ทรงสุดา ขวัญประชา
สุภาภรณ์ ศรีดี
วิทยาธร ท่อแก้ว

บทคัดย่อ

            ความร้อนแรงทางการเมืองในช่วงใกล้การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร การหาเสียงเลือกตั้งทุกพรรคต่าง              สรรหากลยุทธ์ กลเม็ดเด็ดพรายในการโน้มน้าวใจผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งหรือผู้ที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครและพรรคการเมืองของตนโดยการใช้การสื่อสารทางการเมืองมาใช้ในการสื่อสารกับประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในทุกรูปแบบทั้งการใช้การพูดคุยต่อหน้า การปราศรัยกับประชาชนกลุ่มใหญ่ การใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ ป้ายหาเสียง แผ่นพับ การใช้สื่อออนไลน์ โดยใช้ข้อมูล ข่าวสาร ปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้จากมติมหาชน และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ มาจัดทำเป็นนโยบายของพรรค การสร้างภาพลักษณ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองของตนโดยใช้การตลาดการเมือง เพื่อให้ได้คะแนนเสียงชนะผู้สมัครคู่แข่ง ซึ่งในบทความนี้ได้เสนอรูปแบบการสื่อสารที่ใช้ความเข้าอกเข้าใจที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ข้อ คือ ความเชื่อมั่น ความจริง การให้ความเคารพและการให้เกียรติต่อกัน ภาษากาย เพื่อให้พรรคการเมืองนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารกับประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อให้การหาเสียงเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันที่ประชาชนต้องการความจริง ความเชื่อมั่นต่อนโยบายที่พรรคการเมืองประกาศ ความซื่อสัตย์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ความสามารถใน                  การเป็นผู้สื่อสารที่ใช้ภาษากายในการสื่อสาร การให้เกียรติผู้อื่น เป็นอาวุธสำคัญที่พรรคการเมืองควรพิจารณาเลือกใช้เพื่อให้ได้คะแนนเสียงชนะผู้สมัครคู่แข่งตามที่ตั้งเป้าหมายไว้โดยไม่ลืมการนำเอาเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาใช้ในการสร้างอำนาจทางการเมืองอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ขวัญประชา ท. ., ศรีดี ส. ., & ท่อแก้ว ว. . (2023). สื่อสารทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งอย่างไร ได้ใจ ได้เสียง. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(1), 172–181. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/265480
บท
บทความวิชาการ

References

กิรพัฒน์ เขียนทองกุล. (2022). มติมหาชน: แนวคิดและปัญหาการเป็นเครื่องมือทางการเมืองของผู้นำฝูงชนทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย. วารสารอินทนิลทักษิณสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 9-23.

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). โพลชี้นายกฯมีภาพลักษณ์ผู้มีบารมี กล้าคิด กล้าทำ มือสะอาด ไม่ด่างพร้อย. สืบค้น 26 ธันวาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/855726.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แมสมีเดีย.

บุณฑริกา เจี่ยงเพ็ชร์. (2543). พฤติกรรมการสื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่ออินเทอร์เน็ต และทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งระบบใหม่ของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บูฆอรี ยีหมะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาธนาศิลป์ ธมฺมานุสารี, สุรพล สุยะพรหม และเติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2566). เปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), R94-108.

ยุทธพร อิสรชัย. (2561). แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. ในประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพมหานคร: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.

สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รวมกฎหมายประจำปี 2560 เล่ม 1 หมวดอักษร ก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ). สืบค้น 25 ธันวาคม 2565. จากhttps://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/257/files/ ttlaw%201_60.pdf.

สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รวมกฎหมายประจำปี 2561 รวมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565. จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/รวมกฎหมายประจำปี/257/TH-TH.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stahl, A. (2018). The Secret To Successful Communication. สืบค้น 27 ธันวาคม 2565. จาก https://www.forbes.com/sites/ashleystahl/2018/07/27/the-secret-to-successful-communication/?sh=1c501bd62df0.

McNair, B. (2003). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.

Ranney, A. (1993). Governming: An introduction to political science. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall International.

Yorke, C. (2017). The significance and limitations of empathy in strategic communications. Defence Strategic Communications, 2(2), 137-160.