ความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและการบริการของผู้ใช้บริการ ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุภาวดี เผือกฟัก
นันทยา คงประพันธ์
พรทิพย์ ช่วยเพล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและการบริการของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและบริการของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีวิธีดำเนินการวิจัย คือ รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณทั้งหมด จำนวน 120 คน เชิงคุณภาพ จำนวนทั้งหมด 30 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะนำไปสู่การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรีมีความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 ส่วนปัญหาในการใช้สารสนเทศและบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15  และความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกัน ส่งผลต่อความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการห้องสมุดของประชาชน ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ห้องสมุดประชาชนควรจัดหาสื่อและให้บริการสารสนเทศที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุน                 ด้านงบประมาณ เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนจัดซื้อสื่อให้ครบทุกประเภท ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ และการสนับสนุนด้านบุคลากรอันเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาระบบบริการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เผือกฟัก ส., คงประพันธ์ น., & ช่วยเพล พ. . (2023). ความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและการบริการของผู้ใช้บริการ ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี . วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(1), 66–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/265408
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ยุทธคราม และภรณี ศิริโชติ. (2557). การใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารสารสนเทศศาสตร์. 21(2), 65-72.

การจัดการงานบริการสารสนเทศ. (2559). บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการบริการสารสนเทศ. สืบค้น 25 ตุลาคม 2563. จาก www.human.bsru.ac.th.

ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน. (2555). บทบาทของห้องสมุดในบริบทการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(2), 18-26.

ทิศากร ศิริพันธุ์เมือง. (2560). รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ. 10(2), 28-43.

นภัสนันท์ ชมภูเทพา. (2559). ความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(4), 285-295.

ประภาพร รูปสวยดี. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วารีรัตน์ จะราและคณะ. (2558). ความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 2(2), 23-29.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2550). บทบาทของห้องสมุดประชาชน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ (เอกสารอัดสำเนา).

สิรินาฏ วงศ์สว่างศิริ. (2560). การส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 19(2), 143-154.

สุนีย์ เลิศแสวงกิจและพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย. (2556). ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: วังอักษร.

อนันศักดิ์ พวงอก. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0,วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.). 18(2), 100-115

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.