การศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี

Main Article Content

เมธัส เมยไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี และเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการเรียนระหว่างเพศชายกับเพศหญิง และนักศึกษาที่เรียนในคณะต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 283 คน สำหรับทดสอบโดยสถิติ T-test และจำนวน 407 คน สำหรับการทดสอบด้วยการใช้สถิติ F-test เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ แบบวัดกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ จาก Strategy Inventory for Language Learning Version 7.0 (ESL/EFL) ของ Oxford (1990) ประกอบด้วยข้อคำถาม 50 ข้อ และวัดกลวิธีการเรียน 6 ด้าน ประกอบด้วย กลวิธีการจำ กลวิธีทางเชาวน์ปัญญา กลวิธีทดแทน กลวิธีอภิปัญญา กลวิธีจิตพิสัย และกลวิธีทางสังคม


          ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมมีการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง  ถ้าพิจารณาค่าเฉลี่ยการใช้แต่ละกลวิธีในการเรียนในระดับปานกลางทุกกลวิธี เมื่อพิจารณาแต่ละกลวิธีในการเรียน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) กลวิธีอภิปัญญา 2) กลวิธีทางสังคม 3) กลวิธีทางเชาวน์ปัญญา 4) กลวิธีทดแทน 5) กลวิธีการจำ และ 6) กลวิธีจิตพิสัย ตามลำดับ 2. นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีการใช้กลวิธีการเรียนแต่ละกลวิธีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่านักศึกษาหญิงมีการใช้กลวิธีการเรียนแต่ละกลวิธีมากกว่านักศึกษาชาย และ 3. นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันมีการใช้กลวิธีการเรียนแต่ละกลวิธีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่พบว่า แต่ละกลวิธีมีการใช้กลวิธีการเรียนไปในทิศทางที่สอดคล้องกันหรือใกล้เคียงกัน

Article Details

How to Cite
เมยไธสง เ. (2023). การศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(1), 127–140. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/260915
บท
บทความวิจัย

References

กชพร ทองประไพ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการเรียนภาษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ. (2546) การใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ทวีศักดิ์ ขันยศ. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

แพรวพรรณ พริ้งพร้อม. (2549). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2. วารสาร BU Academic Review, 8(2), 15-26.

สุดารัตน์ พญาพรหม. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีที่ใช้ในการฟังและความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bremner, S. (1990). Language learning strategies and language proficiency: investigating the relationship in Hong Kong. Hong Kong.

Clouston, L.M. (1997). Language learning strategies: An overview for teachers. Retrieved August 26, 2011. from http://itestj.org/Articles/Lesard-Clouston-Strategy.htm.

Cunningham, F. (2000). “The Plot Thickens: Beginning Level English Language Learners as Strategies. Practical Research Briefs, 1999-2000 Report Series,”. Learning Strategies. 28(3), 56-57.

Emily Edward. (2015). Seeking out challenges develop self-confidence: A languages learner’s journey to proficiency. The electronic journal for English as a second language. 18(4), 1.

Green, J. & Oxford, R.L. (1995). A closer look at learning strategies, Proficiency and Gender. TESOL Quarterly, 29(Summer 1995), 261-297.

Kaylami, C. (1996). The influence of gender and motivation on EFL learning strategy use in Jordan. In Rebacca L. Oxford (Ed.) Language learning strategies around the world: Cross-cultural perspectives (pp.75-88). Honolulu: University of Hawaii, Second Language Teaching & Curriculum center.

Oxford, R.L. & Ehrman, M.E. (1995). Adults’ Language Learning Strategies in an Intensive Foreign Language Program in the United States. System. 23(3), 359-386.

Oxford, R.L., & Nyikos, M. (1989). Variables affecting choice of language learning strategies by university students. Modern Language Journal, 73(3), 291-300.

Oxford, Rebacca L. (1990). Language Learning strategies: What Every Teacher Should Know. New York: Newbury House.

Stern, H.H. (1983). Fundamental concepts of language teaching. Oxford: Oxford University.

Wenden, A. (1998). Learner strategies for learner autonomy: Planning and implementing learner training for language learner. New York: Prentice Hall.

Yamith Jose Fandino. (2013). “21st Century Skills and the English Foreign Language Classroom: A Call for More Awareness in Columbia. Gist Education and Learning,”. Research Journal. 7(2013), 190-208.