ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยที่ส่งผลต่อการแปลเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาของการแปลทางวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาษาไทยเป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีลักษณะบางประการที่มีความเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันการแปลทางวิชาการจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ไปยังต่างประเทศอันนำไปสู่การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบและนำเสนอให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะบางประการของภาษาไทยที่แตกต่างไปจากลักษณะของภาษาอังกฤษซึ่งส่งผลต่อการทำความเข้าใจและการแปลบทความทางวิชาการจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง สละสลวยเป็นธรรมชาติ ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการสื่อ จากการศึกษาทบทวนกรรมที่เกี่ยวข้องและการศึกษาตัวอย่างงานแปลเอกสารทางวิชา พบว่า ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยที่มีความแตกต่างไปจากภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการทำความเข้าใจและถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง ประกอบด้วย 1) ภาษาไทยไม่มีการใช้คำนำหน้านามเพื่อบ่งชี้เฉพาะหรือกล่าวโดยทั่วไป 2) ประโยคภาษาไทยสามารถละประธานของประโยคได้ 3) ภาษาไทยมีคำกำกวม และ 4) ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนรูปคำกริยาเพื่อบอกกาล ซึ่งการทราบถึงลักษณะเฉพาะบางประการของภาษาไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับการแปลเอกสารทางวิชาการตลอดจนแนวทางในการแปลที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้แปลสามารถสร้างสรรค์งานแปลภาษาอังกฤษสำหรับงานทางวิชาการที่มีคุณภาพได้
Article Details
References
ทิพา เทพอัครพงศ์. (2547).การแปลเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทุมเพชร แซ่อ๋องและคณะ.(2560) สำนวนและความเปรียบ:กลวิธีการแปลที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลเรื่อง “แฮร์รี่พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์” วารสารมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560
รมัณยา ทิพย์มณเฑียรและชัชวดี ศรลัมพ์.(2560) การแปลสำนวนภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ชุดแนววัยรุ่นเป็นภาษาไทย.การประชุมวิชาการเสนอนผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร:ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์
สมบัติ ศิริจันดา. (2555).ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
สัญฉวี สายบัว. (2538). หลักการแปล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2554).การแปลขั้นสูง.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุพรรณี ปิ่นมณี.(2552). แปลได้ แปลดี.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสรี ชมชอบ. (2542). การแปลเบื้องต้น. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
อัจฉรา ไล่สัตรูไกล.(2548) หลักการและวิธีการแปล.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Catford, J.C. (1965). A Linguistic Theory of Translation. London: Oxford University Press.
Hatim, B. & Mason, I. (1990). Discourse and the Translator. New York: Longman Inc.
Larson, Mildred L. (1981). Meaning-based Translation: A Guide to Cross-Language Equivalence. New York: University Press of America.
Longman. (2013). Longman Dictionary of Contemporary English. Harlow Essex: Longman Group.
Merriam-Webster. (2013). Merriam-Webster’s Advanced Learner English Dictionary. Springfield: Merriam-Webster Inc.
Newmark, Peter. (1996). Teaching Translation from Spanish to English: Worlds Beyond Words. Canada: University of Ottawa Press.