การสำรวจสภาวการณ์การสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน

Main Article Content

สุพัตรา นุตรักษ์
อุบลวรรณ หงส์วิทยากร
ยุวดี วิทยพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชนด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 400 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาวการณ์การสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชน ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.64 , S.D.= 0.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามสามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน เช่น เล่านิทาน กิจกรรมศิลปะ ร้องเพลงหรือเต้นประกอบเพลง เป็นต้น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.82 , S.D.= 0.48) รองลงมาคือ เห็นความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70 , S.D.= 0.57) และมีความเห็นว่า ความสูงวัยเป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน อยู่ในระดับน้อย (x̄ = 1.92 , S.D.= 0.55) เป็นอันดับสุดท้าย

Article Details

How to Cite
นุตรักษ์ ส. ., หงส์วิทยากร อ. ., & วิทยพันธ์ ย. . (2024). การสำรวจสภาวการณ์การสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 148–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/277177
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่การปฏิบัติการตามภารกิจของหน่วยงานต่อการบริหารจัดการศึกษาตลอดชีวิตของอปท. และสถานศึกษาในสังกัดอปท. กระทรวงศึกษาธิการ; 2560.

ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์.รายงานประจำปี กรมอนามัย 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: 2564.

ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์. บทบาทของผู้สูงอายุต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2560; 9(17): 176-191.

สุพัตรา นุตรักษ์ และ วรรณไพร แย้มมา. การพยาบาลเด็กเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาเด็กทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: นีโอดิจิตอล; 2565

ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล. การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก: รูปแบบและผลลัพธ์ของ หลักสูตร. STOU Education Journal 2561; 11(1): 226-242.

สุพัตรา นุตรักษ์, วรรณไพร แย้มมา, ประนอม พูลพัฒน์, สาริศา อัครกุลพิชา, บุญยอด มาคล้าย, ภาวิณี ทองกลับ, และ วรวิทย์ ละครจันทร์. การดูแลภายใต้การเชื่อมความสัมพันธ์ต่างรุ่น: ทางเลือกใหม่เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2564; 11(1): 199-206.

O’Hanlon J, Thomas E. The Role of Senior Centers in Promoting Intergenerational Play. University of Delaware; 2017.

สุพัตรา นุตรักษ์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และอุ่นเรือน แก้วพินิจ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กวัยก่อนเรียนในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต. วารสารไทยเภสัชสารและวิทยาการสุขภาพ 2555; 7 (2): 84-95.

Garzon, D. L. Developmental Management in Pediatric primary care. In C. E. Burns, A. M. Dunn., M. A. Brady., N. B. Starr., C. G. Blosser., & D. L. Garzon. (Eds.), Pediatric primary care (6th ed., pp. 46-60). St. Louis: Elsevier; 2017.

Gallagher C, Fitzpatrick A. It’s a Win-Win Situation– Intergenerational Learning in Preschool and Elder Care Settings: An Irish Perspective. Journal of Intergenerational Relationships 2018; 16(1-2):26-44.

จุฑามาส วรโชติกำจร. การส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 0-6 ปี. ใน ประยงค์ เวชวนิชสนอง, และ วนพร อนันตเสรี (บรรณาธิการ), กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1 (หน้า 185-189). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนา; 2559.

มาลี วิทยาธรรัตน์ และ พัชรี ใจการุณ. การส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก. ในพรทิพย์ ศิริบูรณ์ พิพัฒนา (บรรณาธิการ), การพยาบาลเด็ก 1 (หน้า 35-152). กรุงเทพ: ธนาเพรส; 2556.

Filkins S. & Dunn A. M. Nutrition. In C. E. Burns, A. M. Dunn., M. A. Brady., N. B. Starr., C. G. Blosser., & D. L. Garzon. (Eds.), Pediatric primary care (6th ed., pp. 158-197). St. Louis: Elsevier; 2017.

Giddens, A. The Constitution of Society. Outline of the Theory of Structuration. University of California Press, Berkeley.Goleman; 1984.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://nich.anamai.moph.go.th/web-upload/9x45fd5e87a10707bad447547633b2d76d/tinymce/2564/Child_Standard/std_64_17.pdf

Whittington, R. Giddens, structuration theory and strategy as practice. Cambridge Handbook of Strategy as Practice. https://doi.org/10.1017/CCO9781139681032.009; 2015.

Yamane, Taro. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row; 1973.

Kenning, G., Ee, N., Xu, Y., Luu, B. L., Ward, S. A., Goldwater, M. B., ... & Peters, R. Intergenerational practice in the community—What does the community think?. Social Sciences 2021; 10(10): 374.

Chanakul, C., Wannachot, W., Prachagool, V., & Nuangchalerm, P. Fostering Social Innovation for Quality of Life Building in Two Generations. Journal of Educational Issues 2022; 8(2): 524-534.