ประสบการณ์การเรียนรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง

Main Article Content

นงลักษณ์ คำสวาสดิ์
อรุณี ศรีสุยิ่ง
ศิริพร ภูษี

บทคัดย่อ

           การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง เป็นวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์ให้เหมือนสภาพความจริงมากที่สุด การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพแบบบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 36 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัยที่ใช้คือ สถานการณ์เสมือนจริง เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ตามแนวทางที่กำหนด การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การจดบันทึกงานภาคสนามและการบันทึกภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


           ผลการวิจัยพบว่ามี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะฉุกเฉิน มี 3 ประเด็นย่อย คือ (1) การปฏิบัติการพยาบาลภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว (2) การปฏิบัติการพยาบาลภาวะสายสะดือทารกพลัดต่ำ (3) การปฏิบัติการพยาบาลภาวะชักจากความดันโลหิตสูง 2) ทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้สำหรับภาวะฉุกเฉิน มี 5 ประเด็นย่อยคือ (1) ทักษะการทำงานเป็นทีม (2) ทักษะการติดต่อสื่อสาร (3) ทักษะการตัดสินใจทางคลินิก (4) การมีสติ (5) การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และ 3) ความรู้สึกของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตสำหรับการเรียนรู้สถานการณ์เสมือนจริง มี 3 ประเด็นย่อยคือ (1) ความรู้สึกตื่นเต้นและวิตกกังวล (2) การนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ (3) การเรียนรู้ข้อบกพร่องเพื่อการพัฒนาตนเอง

Article Details

How to Cite
คำสวาสดิ์ น., ศรีสุยิ่ง อ. ., & ภูษี ศ. . (2024). ประสบการณ์การเรียนรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(3), 82–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/272314
บท
บทความวิจัย
Author Biography

นงลักษณ์ คำสวาสดิ์, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

References

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง วิรดา อรรถเมธากุล รัตนา นิลเลื่อม และนาตยา วงศ์ยะรา. ผลการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4: 178-194.

สมศรี ทาทาน วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2560; 23: 1-10.

สถาบันพระบรมราชชนก, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายละเอียดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตปรับปรุง พ.ศ. 2560

[ม.ป.พ.];2560

ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. การสอนโดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2560; 9: 70-84.

สุรชาติ สิทธิปกรณ์ อภิญญา คชมาตย์ สุรพันธ์ สืบเนียม จารุรินทร์ พงศ์ประเทศ อุไร จำปาวะดี วสันต์ แก้วเกลื่อน โสรัจญา สุริยนต์ นิตยา สุทธยากร. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจำลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย 2560; 14: 600-609.

ทิวา มหาพรหม. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562; 1: 47-61.

รังสรรค์ มาระเพ็ญ. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาศึกษ] บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

วรรวิษา สำราญเนตรและนิตยา กออิสรานุภาพ. ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2562; 22: 64-75.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด ปรางทิพย์ ทาเสนาะเอลเทอร์ นุชมาศ แก้วกุลฑล และรัชนี พจนา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ ความมั่นใจและความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29: 1062-1072.

Sun-Nam, P., Min-Sun, C., Yoon-Young, H., Sun-Hee, K., & Sun-Kyoung, L. Effects of Integrated Nursing Practices Simulation- Based Learning Training on Stress, Interest in Learning, and Problem-Solving Ability of Nursing Students. Journal of Korean Academic Fundamental Nursing 2015; 22: 424 – 32.

Ji Young, K. & Eun Jung, K. Effects of Simulation on Nursing Students’ Knowledge, Clinical Reasoning and Self-Confidence: A Quasi-Experimental Study. Korean Journal of A duly Nursing 2015; 27: 604 – 11.

Creswell JM. Qualitative inquiry and research design: choosing among five approaches. Thousand Oaks: Sage; 2007.

นัยนา ดอรมาน ประสาร มาลากุล ณ อยุธยาและผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. การเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2563; 10: 20-28.

สุพรรณี กัณหดิรก และตรีชฎา ปุ่นสำเริง. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559; 9: 1-14.

สมศรี คะสันและปุรินทร์ นาคสิงห์. เพศวิถีและบทบาทการเป็นแม่ของแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำในจังหวัดอุตรดิตถ์ Journal of Roi Kaensarn Academic. 2566; 8(5): 458-471.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด ปรางทิพย์ ทาเสนาะเอลเทอร์ นุชมาศ แก้วกุลฑล และรัชนี พจนา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ ความมั่นใจและความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29: 1062-1072.

มาลี คำคง และ ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง: วิธีพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4: 332-344.

สมจิตต์ สินธุชัย และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18: 29-38.

จินตนา ลี้ละไกรวรรณ ธรณิศ สายวัฒน์ สุมลชาติ ดวงบุบผา ปราณี แสดคง นวลใย พิศชาติ. การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37: 6-11.

อัญชลี แก้วสระสรีและรุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์. การรับรู้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของบัณฑิตพยาบาลและผดุงครรภ์จบใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2565; 16: 1-11.

กนกพร เทียนคำศรี ธนพล บรรดาศักดิ์ สมหวัง โรจนะและสร้อยสน พามา. ศึกษาการดูแลผู้ป่วยวิกฤตด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: การรับรู้จากการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล. วารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาราชวิทยาลัย 2561; 37: 13206-1333.

วาสนา หลวงพิทักษ์ สุภาวดี นพรุจจินดา วิรงค์รอง ชมภมิ่งและพิศิษย์ พลธนะ. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมในการสอบความรู้รวบยอดทางการพยาบาล รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การศึกษานำร่อง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563; 14: 191-209.

ทิวา มหาพรหม. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562; 1: 47-61.

ละมัด เลิศล้ำ, ชนิดา ธนสารสุธี, สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์ และ ชัชรีย์ บำรุงศรี. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6: 43-58.

Ji Young, K. & Eun Jung, K. Effects of Simulation on Nursing Students’ Knowledge, Clinical Reasoning and Self-Confidence: A Quasi-Experimental Study. Korean Journal of Adult Nursing 2015; 27: 604-611.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. การจัดการเรียนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559; 28: 1-13.