การพัฒนาคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีศิลปวิจารณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการวิจารณ์งานศิลปะ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา ชั้นปี 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ รายวิชาศิลปวิจารณ์ เรื่องทฤษฎีศิลปวิจารณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการวิจารณ์งานศิลปะ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 2 สาขาศิลปศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการวิจารณ์งานศิลปะก่อนเรียนและหลังเรียนรู้วิชาศิลปวิจารณ์ เรื่องทฤษฎีศิลปวิจารณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการวิจารณ์งานศิลปะ โดยใช้คลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปี 2 สาขาศิลปศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีศิลปวิจารณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 2 สาขาศิลปศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา ชั้นปี 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบทักษะการวิจารณ์งานศิลปะก่อนเรียนและหลังเรียนรู้วิชาศิลปวิจารณ์ เป็นแบบทดสอบวิชาศิลปวิจารณ์ โดยใช้คลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เพื่อการศึกษาวิชาศิลปวิจารณ์ เรื่องทฤษฎีศิลปวิจารณ์ประเภท ด้านสุนทรียศาสตร์ และด้านศิลปะวิเคราะห์ จำนวน 6 ข้อ ที่มีลักษณะเป็นแบบทดสอบโดยให้เขียนขั้นตอนการวิจารณ์ผลงานศิลปะ ตามทฤษฎีต่าง ๆ 2) แบบประเมินทักษะการวิจารณ์งานศิลปะก่อนเรียนและหลังเรียนรู้วิชาศิลปวิจารณ์ เป็นแบบประเมินวิชาศิลปวิจารณ์ โดยใช้คลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เพื่อการศึกษาวิชาศิลปวิจารณ์ เรื่องทฤษฎีศิลปวิจารณ์ ประเภท ด้านสุนทรียศาสตร์ และด้านศิลปะวิเคราะห์ จำนวน 5 ทฤษฎี วิจารณ์ผลงานศิลปะจำนวน 5 ชิ้นงาน ที่มีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา จำนวน 20 ข้อ การเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีศิลปวิจารณ์ ซึ่งสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ E1/E2 ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ ของคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ทั้ง 5 EP สรุปว่า การจัดทำคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ทั้ง 5 EP มีผลประเมินไปในทิศทางเดียวกันทุก EP คือ +1 เป็นคะแนน 3/3 และค่า IOC เป็นคะแนนทั้งหมด 1.00 แปลผลออกมาว่า ใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้โดยเฉลี่ย คือ E1/E2 = 83.92/85.41 แปลผลได้ว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ คลิปวิดีโอการสอนออนไลน์เรื่อง ทฤษฎีศิลปวิจารณ์ เพื่อการศึกษาวิชาศิลปวิจารณ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 2 สาขาศิลปศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ 2) การทดสอบคะแนนของผู้เรียน มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 56.07 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 81.90 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนความสามารถทางทักษะการวิจารณ์งานศิลปะทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมของแบบสอบถามความพึงพอใจจากการเรียนโดยใช้คลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ เรื่อง ทฤษฎีศิลปวิจารณ์ มีผลคะแนนรวม เท่ากับ 1,417 คะแนน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 และสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) (%) เท่ากับ 6.69 แปลผลโดยรวม คือ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจจากการเรียน มากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สุชาติ เถาทอง. ศิลปวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2537: 47-49.
อำนาจ เย็นสบาย, วิรุณตั้งเจริญ. ทัศนะวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เอกสารการนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 257 ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการหน่วยศึกษานิเทศกรมการฝึกหัดครู; 2545: 43.
อำนาจ เย็นสบาย. ศิลปะพิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นอ้อ; 2532: 27-32.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. เอกสารคำสอนวิชาสุนทรียศาสตร์และศิลปวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541: 4.
ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2531.
วิรุณ ตั้งเจริญ. ทัศนศิลปศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อีแอนด์ไอดิว; 2548: 54-56.
งานบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พหุศิลปศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์; 2545: 216-228.
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศิลปวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์; 2543: 12-13.
วิรุณ ตั้งเจริญ, วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ, อำนาจ เย็นสบาย, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, จักรพงศ์ แพทย์หลักฟ้า, และตรีวิทย์ พิจิตรพลากาศ.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์กรณีศึกษา โรงเรียนไผทอุดมศึกษา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2543: 104-132.