ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อรณัชชา ชาญเชาว์
รีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก
วินิจ เทือกทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านตัวเลข นิสัยการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ กับความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 120 คน กำหนดขนาดโดยใช้โปรแกรม G* Power 3.1 และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามโปรแกรมการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านตัวเลข แบบสอบถามนิสัยการเรียน แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายทั้ง 3 ตัวแปร คือ ความสามารถด้านตัวเลข เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และนิสัยการเรียน กับตัวแปรตาม คือ ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์รวม 3 คู่ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แต่ละคู่ มีค่าอยู่ที่ .592 .510 และ .435 ตามลำดับ แสดงว่า ตัวแปรแต่ละคู่มีความสัมพันธ์ทางบวก ขนาดความสัมพันธ์สูง และมีอยู่จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรความสามารถด้านตัวเลข เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และนิสัยการเรียนร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ ได้เท่ากับ 42.3% โดยสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เพื่อพยากรณ์ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร เขียนได้ในรูป 


mceclip0.png

Article Details

How to Cite
ชาญเชาว์ อ., อารีรักษ์สกุล ก้องโลก ร., & เทือกทอง ว. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(2), 23–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/270168
บท
บทความวิจัย

References

Devlin, Keith. The math of online music trading.[Internet]. 2022 [cited 2022 January 8]. Available from:http://www.maa.org/devlin/in_02_02.html.

OECD. Measuring Student Knowledge and skills: A New Framework for Assessment. Paris : Author; 1999.

De Lange. Mathematics for Literacy: Quantitative Literacy: Why Numeracy Matters for School and Colleges. In Madison. p.80; 2003.

Hughes Hallett and R. Strauch. “Quality and Success of Budgetary Consolidationd”. In Buti, M., J ; 2003.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2562.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2564.

รายงานการประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. คลินิกคณิตศาสตร์. โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา. 5 มกราคม 2565.

วชิรภรณ์ เทียบเพชร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลและแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 26. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

ทรรศนีย์ วงศ์คำ. การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้คณิตศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

ขจรสุดา เหล็กเพชร. การสร้างแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติในการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2522.

ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. เทคนิคการสร้างและสอบ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2541.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. สติปัญญาและความถนัดทางการเรียนของมนุษย์ ทฤษฎี วิธีวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2550.

อัมพร ม้าคนอง. จิตวิทยาการเรียนรู้คณิตศาสตร์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยาวิธีทางคณิตศาสตร์ (หน่วยที่ 5, น. 16 – 18) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

Guzel, Cigdem I and Berberoglu, Giray. An Analysis of the Programmed for International Student Assessment 2000 (PISA 2000) Mathematical Literacy Data for Brazilian, Japanese and Norwegian Students. Educational Evaluation. 31(4): 283 – 314; 2005.

สุใจ ส่วนไพโรจน์. รายงานการวิจัยเรื่องของผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงที่มีต่อนิสัยและเจตคติในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2542

โสภณ ตอพล. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ; 2553.