การพัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพการเป็นมัคคุเทศก์ของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) พัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษด้านการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มัคคุเทศก์ท้องถิ่นในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 55 คน ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการใช้ภาษาอังกฤษ บทเรียนภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัย 1) มัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 46 ปีขึ้นไป ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นมากกว่า 5 ปีขึ้นไป มีความต้องการในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษด้านการนำเที่ยวในด้านการอธิบายลักษณะรูปร่างหินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดถ้ำเชียงดาวการอธิบายเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับในการเข้าชมสถานที่ และประวัติความเป็นมา แหล่งกำเนิดของถ้ำ ตามลำดับ 2) ความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษด้านการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่หลังจากเข้าร่วมการอบรมสูงขึ้น จากระดับปานกลางอยู่ในระดับดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. GDP ไตรมาสที่สี่ของปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก:www.nesdc.go.th.
Jelena, F. Outdoor Guiding as Hospitality Work. Annals of Tourism Research 2018; 73:197-199.
วันวิวาห์ แซ่ชั้น. ทักษะของมัคคุเทศก์ชาวไทยที่ดูแลนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [อินเทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.northbkk.ac.th/research_/?news=research&id=000376
อภิไทย แก้วจรัส. ศักยภาพมัคคุเทศก์ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2564;13(3):283-296.
Willis, J. A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Longman; 1996.
อิชยา กองไชย. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2565; 8(6): 443-449.
Bartz, H. Testing oral communication in the foreign language classroom. Virginia: Center for Applied Linguistics; 1979.
ไชยยันต์ โตเทศ. การใช้กิจกรรมมุ่งปฏิบัติงานที่เน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
พลอยระดา ภูมี. การเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2559;4(2):249–260.
อรจนา จันทรประยูร, วราภรณ์ ดวงแสง, อนุวัต เชื้อเย็น, วลัยลดา ถาวรมงคลกิจ, วัชรี วรรณศศินผลิน และวิวัฒน์ ประสานสุข. การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [รายงานผลการวิจัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2554.
ปิยนุช แก้วกสิ และรภัสศักย์ เหตุทอง. ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563;11(1): 135-150.
Aunruen, R. Needs analysis of English for travel agents in Chiang Mai [Master’s Thesis]. Bangkok: Kasetsart University; 2005.
Davidoff, M. Contact Customer Service in the Hospitality and Tourism Industry. New Jersey: Prentice Hall Career and Technology; 1994.
Ellis, R. Task-based language learning and teaching. Oxford: Oxford University Press; 2003.
Moore, P. J. Task-based language teaching (TBLT). In Liontas, J. I. (ed.) TESOL encyclopedia of English language teaching. New Jersey: Wiley; 2018.
สโรชา บัญศิลปไทย. การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา:บ้านเอียก หมู่ที่ 5 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [โครงการวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนบูรณาการศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สำหรับนักศึกษาปริญญาโท]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2551.