การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาต่อ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา โดยใช้วิธีการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพได้ศึกษาเอกสารและใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารและคณาจารย์แนะแนวภายในมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์และตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเมินประสิทธิผลรูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนา โดยเรียกว่า “E-CoRONA Model of PR Model” ประกอบด้วย
1) Electronics (E) 2) Communication (Co) 3) Reliability (R) 4) Opponents (O) 5) New Normal (N) และ 6) Application (A) โดยมีผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะแนวที่เอื้อต่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรนาในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.32) เมื่อจำแนกตามประเด็น พบว่า 1) ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการรับสมัคร (Electronics) มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.15) 2) ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์การสมัครเรียนต่อ (Communication) มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.09) 3) ด้านความน่าเชื่อถือ (Communication) มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.27) 4) ด้านคู่แข่ง (Opponents) มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.38) 5) ด้านรูปแบบการประชาสัมพันธ์แบบ (New Normal) มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.32) 6) ด้านรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ (Application) มีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.35) และพบว่าในปีการศึกษา 2564 ที่ได้ดำเนินการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมากกว่าปีที่ผ่านมา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สุภรณ์ แขตระกูล. ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา.2556; ม.ป.ท.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. สื่อประชาสัมพันธ์.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553
อุทัย บุญประเสริฐ. การติดต่อสื่อสารในองค์กรและการบริหาร.กรุงเทพฯ : ศรีมงคล การพิมพ์; 2529.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551.
ณัฏฐา ชาวกงจักร. รูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุกอ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
รัตจณี รักษ์เพ็ชร. การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ของเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา.รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
พรรณี คอนจอหอ, อัตภาพ มณีเติม, เฉลย ทองคำ, ปิ่นทอง อมรจุติ, ศักดิพัต ศรีอร่ามรุ่งเรือง. ระบบการรรับสมัครนักศึกษาแบบยืดหยุ่นตามสถานการณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 2561; 39-50.
สลิลทิพย์ ไข่เพชร และกฤตชน วงศ์รัตน์. กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2565; 3: 81-92.