พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพร ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นัทสยา ชุ่มบุญชู
รัญชิดา ดาวเรือง
รัตติมา บำรุงเขต
มรกต โกมลดิษฐ์
สุทิพันธุ์ บงสุนันท์
พรพรรณ เศรษฐธรรม
มัทนียา พิทักษ์ชูโชค

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อจัดทำแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคเครื่องดื่มชาสมุนไพร จำนวน 385 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


          จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มชาสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี ร้อยละ 77.90 มักจะดื่มชาสมุนไพรในรูปแบบชาพร้อมดื่มแบบเย็น และมักจะซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรจากร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-11/ Family Mart/ สหกรณ์ร้านค้า โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งจะมีมูลค่าต่ำกว่า 100 บาท 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมด้านการเลือกบริโภคเครื่องดื่มชาสมุนไพร ประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มชาสมุนไพร ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อเครื่องดื่มชาสมุนไพร มีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพร ในขณะที่รูปแบบการดื่มชาสมุนไพร ลักษณะการดื่มชาสมุนไพร มีอิทธิพลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 


          แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพร มุ่งให้ความสำคัญในด้านการเก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีความสะดวกในการใช้งาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนในการขนส่ง ควรจะแสดงข้อมูลด้านโภชนาการ และควรจะมีการระบุข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดตามอย่างชัดเจน เช่น วันที่ผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพสามิต. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจวัดปริมาณน้ำตาล สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และสามารถละลายน้ำได้แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์นมที่อยู่ในรูปแบบผง. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต; 2560.

นลิศา เตชะศิริประภา. Money business ECONOMY: ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพ 1 หมื่นล้าน เติบโตตามเทรนด์ผู้บริโภค TCP ส่งสินค้าใหม่ ปั้นรายได้โต. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.plus.thairath.co.th/topic/money/101822.

ไทยตำบลดอทคอม. ไทยตำบลดอทคอม. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaitambon.com/Provinces/Kanchanaburi.html

สลิลทิพย์ ไข่เพชร, และกฤตชน วงศ์รัตน์. กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2565; 12(3): 81-92.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาดการบริหารการตลาดและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา; 2550. 128-144; 192.

ชูชัย สมิทธิไกร. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554. 6.

Briston J.H., Neill T.J. Packaging Management. Epping, Essex: Gover press; 1972. [8] นคเรศ ชัยแก้ว, อุดมศักดิ์สาริบุตร และคณะ. การศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลําไยอบแห้งจังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2556; 3(2 ตุลาคม 2555 - มีนาคม 2556).

จิติมา เสือทอง, มัทนา โมรากุล, และวรฤทัย หาญโชติพันธ. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมทองพับกลุ่มสตรีแม่บ้านเขียวขจี จังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2555. 11.

สาริณี มาป้อง, และ พัชรี สุริยะ. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคชาใบหม่อนของผู้บริโภค ในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร 2558; 43(ฉบับพิเศษ 1): 738-743.

สุรชัย อุตมอ่าง, นิรมล อุตมอ่าง, และ รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. การยอมรับและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2558; 7(13): 187-199.

จุฑาทิพย์ อินทรภักดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.mbaindustrial-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1612255986.pdf.

Cochran, W.G. Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc; 1953.

Cronbach, L. J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper and Row, Publishers 1974; 161.

นิรมล กิติกุล. วิธีวิจัยทางธุรกิจ. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป; 2552.

เอื้อมพร หลินเจริญ. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555; 17(1 กรกฎาคม 2555).