ทักษะสำคัญของผู้เรียนในอนาคต : การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เป็นทักษะสำคัญของผู้เรียนในอนาคต เนื่องจากในช่วงปี 2020 - 2021 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันของหลากหลายสิ่งทั้งเทคโนโลยี และวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ ส่งผลให้ต้องเร่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถรับมือกับปัญหาและแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงรู้จักปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพราะในอนาคตปัญหาจะยิ่งมีความยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นโลกยุคใหม่จึงต้องการคนที่มีทักษะการคิดและตัดสินใจที่ดี รวมถึงสามารถคิดค้นวิธีใหม่ ๆ ซึ่งทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาผู้เรียนในการคิดตัดสินใจและเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นการใช้ทักษะการแก้ปัญหาร่วมกับความคิดสร้างสรรค์
ที่เน้นการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างหลากหลายไปจากรูปแบบเดิม ๆ แล้วใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการพิจารณาหาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ โดยผ่านการสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงเหตุผลให้เหมาะสมกับสาเหตุหรือสถานการณ์ของปัญหา การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยการกำหนดสถานการณ์ที่สอดคล้องกับผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงเหตุผลให้เหมาะสมกับสาเหตุหรือสถานการณ์ของปัญหา สามารถใช้
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้แบบการระดมพลังสมอง หรือการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2560 – 2574). กรุงเทพมหานคร: สกศ. 2560.
World Economic Forum. The Future of Jobs Report. [Internet] .2018 [cited 2021 September 14]. Available
from: http://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2018
Nathan Bennett a and G. James Lemoine. What a difference a word makes: Understanding threats to performance in a VUCA world. Journal: BUSHOR Article. 2014; 1126
Treffinger, D. J., Selby, E. C., & Isaksen, S. G. Understanding individual problem-solving style: A key to learning and applying creative problem solving. Leaning and Individual Differences 18(4) 2008; 390-401
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สกศ. 2564
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562
Rahman, M. (2019). 21st century skill "problem solving": defining the concept. Asian Journal of Interdisciplinary Research, 2(1), 71-81.
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี 2554-2563. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 39 ฉบับที่ 105 มกราคม-มิถุนายน 2565.
กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนาร. การประชุมวิชาการเสนอผลการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. มหาวิทยลัยขอนแก่น. 2563; HM09-HM09-14
Vinacke, W. E. The psychology of thinking. New York: McGraw-Hill. 1952.
Anderson, B. F. Cognitive Psychology: The study of knowing, learning and thinking. New York: Academic Press. 1975.
Guilford, J.P. Way beyond the IQ: Guide to improving intelligence and creativity. Buffalo, NY: Bearly Limited. 1977.
Kirton, M.J. Adoption-innovation: in the context of diversity and change. Great Britain: Routledge. 2003
Treffinger, D. J., Isaksen, S. G., & Dorval, K.B. Creative Approaches To Problem Solving: A Framework for Innovation and Change. Singapore: SAGE Publications Asia-Pacific Pte.Ltd. 3rd edition. 2011
Creative Education Foundation. What is Creative Problem Solving. [Internet] .2022 [cited 2022 September 14]. Available from: https://www.creativeeducationfoundation.org/what-is-cps/
Panels, T. C. The Effects of Training Preservice Teacher in Creative Problem Solving and Classroom Management. Oklahoma: University of Oklahoma Graduate College. 2010.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. องค์ความรู้ภาษา-วัฒนธรรม. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับ วันที่ 26 เมษายน 2561
Osborn, A. F. Applied imagination. New York: Scribner's. 1963.
Torrance, E.P. Encouraging creative in classroom. Lowa : Wm C Brown Company Publisher. (1973)
Osburn, K. & Mumford, M. Creativity and planning: Training interventions to develop creative problem-solving skills. Creativity Research Journal, 18(2), 2006; 173-190.
Treffinger, D. J. & Isaksen, S. G. Creative problem solving: The history, development, and implications for gifted education and talent development. Journal: Gifted Child Quarterly, 49, 2005; 342-353.
Titus, Philip A. “Marketing and the Creative Problem-Solving Process,” Journal of Marketing Education, 22 (3), 2000; 225–235.
Reali, P. D. H2 solve wicked problems. North Cololina: lulu. 2010.
Hobri, Ummah, Irma Khoirul, Yuliati, Nanik and Dafik. The Effect of Jumping Task Based on Creative Problem Solving on Students’ Problem Solving Ability International Journal of Instruction, v13, 2020; 387-406
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง. (2556).
ทัศนพร วิบูลย์อรรถ, อาจินต์ ไพรีรณ และประสาท เนืองเฉลิม. การเปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ
โครงงานและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 9 ฉบับที่ 3. 2558
ดวงจิต เกียรติพัฒนกุล. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับโครงงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีที่ 9 (ฉบับที่ 3). 2562; 227-236
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2564.
Al Mutairi, Abdullahi Naser Mohammad. The Effect of Using Brainstorming Strategy in Developing Creative Problem-Solving Skills among Male Students in Kuwait: A Field Study on Saud Al-Kharji School in Kuwait City. Journal of Education and Practice, v6 n3. 2015; 136-145
Parnes, S.J. (1992). Creative Behavior Guidebook. New York : Charles Scribner's Sons
สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สำหรับส่งเสริมกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562
พีชาณิกา เพชรสังข์. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และ การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2). 2565; 4-13
อารีย์ ศรีสุกอง. ผลการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [การค้นคว้าอิสระ ศึกษามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562
Ray, D.K, & Romano Jr, N.C.. Creative problem solving in GSS group: Do creative styles matter?. Group Decision and Negotiation, 22(6), [Internet] .2013 [cited 2021 September 14]. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/issue/view/17080/Volume%2011%20No.1
Auth, P.C. Assessing the Use of Creative Problem-Solving Skills and Generic Influences on Learning in Clinical Reasoning by Physician Assistant Students. Drexel University. Doctor of Philosophy. 2005
Sternberg, R. J., & O’Hara, L. A. Intelligence and creativity. In R. J. Sternberg (Ed.), Handbook of intelligence. New York: Cambridge University Press. 2000