การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

วรัชยา จ้อยจอก
อาทิตยา จันทร์แก้ว
อาชิรญาดา โชคประกอบบุญ
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง มีความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มีระบบการสื่อสารที่ทันสมัยในรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเป็นตัวเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนของสังคมโลกอย่างรวดเร็วในหลายด้าน เช่นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษาเช่นกัน เทคโนโลยีทำให้การจัดการศึกษาต้องมีการพัฒนาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่จะนำพาให้สถานศึกษาเท่าทันการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารกับครู บุคลากรในสถานศึกษานั้นจึงต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two-way communication) ซึ่งไม่จำกัดเพียงการพูดคุย หรือการเขียน (Verbal) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอากัปกิริยา และการแสดงออกต่าง ๆ ด้วย (Non-verbal) ข้อความและวิธีการในการสื่อสารสามารถเป็นคุณหรือเป็นโทษ ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร ให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ศึกษา พัฒนาและนำไปใช้ โดยคงรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบสองทางไว้ ได้แก่ อีเมล (E-mail) และแอปพลิเคชัน ได้แก่ WhatsApp (วอทส์แอพ) ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ (Facebook Messenger) การนำเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาข้างต้นมาใช้จะช่วยให้การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถทำได้รวดเร็ว กระชับ และตอบสนองกับการทำงานที่เร่งด่วน ไม่สามารถรอเวลาเพื่อสื่อสารแบบพบหน้ากันได้ หรือช่วยย่นระยะเวลาในการสื่อสารแบบเป็นทางการ การประชุม การวางแผนงาน ต่าง ๆ โดยสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีในเบื้องต้นก่อน ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาตนเองในการใช้เทคโนลยีต่าง ๆ ให้เกิดความชำนาญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการติดต่อสื่อสาร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

David K. Berlo. The Process of Communication. New York: Holt Rinehart and Winston, Inc.; 1960.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

ปรมะ สตะเวทิน. หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

อรุณีประภา หอมเศรษฐี. การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2535.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. ภาวะผู้นำทางการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง; 2561.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ; 2540.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : สำนักงาน; 2546.

ชฎาภรณ์ สงวนแก้ว และฝ่ายวิชาการ. CPB Computer 4. กรุงเทพฯ : ฟันนี่; 2548.

กิดานันท์ มลิทอง. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์; 2548.

101 Helpth. 9 ผู้ให้บริการอีเมลฟรีที่ดีที่สุดแห่งปี 2022: บทวิจารณ์ & การเปรียบเทียบ [อินเทอร์เน็ต]. 2022 [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://th.101-help.com/398710e09d-9-best-free-email-service-providers-kh-ng-2021-review-comparison/

นารีรัตน์ สุวรรณวารี. พฤติกรรมจริยธรรมในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2543.

วิกิพีเดีย.อีเมล. [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/อีเมล

Whatsapp. เกี่ยวกับ WhatsApp. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.whatsapp.com/about

Line. ประวัติ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://linecorp.com/th/company/info

Line. บริการ Line. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://linecorp.com/th/business/service

Messenger. ฟีเจอร์จอง Messenger. [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/help/messenger-app/213724335832452/?helpref=hc_fnav