การพัฒนาทักษะการสร้างสื่อสังคมออนไลน์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการสร้างสื่อสังคมออนไลน์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ และ (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดย
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ประชากรเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านอ่างหิน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นฐาน แบบประเมินทักษะการสร้างสื่อสังคมออนไลน์ และแบบประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ สถิติที่ใช้ได้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ผลการเปรียบเทียบทักษะการสร้างสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.50 และผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. เปิดสถิติ! คนไทยใช้ 'โซเชียลมีเดีย' อันดับ 1 ของโลก [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/958161.
Aj.Lalita. สถิติการใช้งาน Digital ประเทศไทย ปี 2021 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ajlalita.com/thailanddigital2021.
สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. สื่อใหม่: กุญแจเพื่อการพัฒนาองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2557.
บุญชิต มณีโชติ. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมใฝ่รู้ของนักศึกษาพยาบาลวิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
กนวรรณ จุ้ยต่าย. การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง การสร้างสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.
วิจารณ์ พานิช. วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด; 2555.
ชนันท์ธิดา ประพิณ กอบสุข คงมนัส ช่อบุญ จิรานุภาพ วารีรัตน์ แก้วอุไร. การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560; 2560.
มณีญา สุราช. การวัดและประเมินผลการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2560.