กลยุทธ์การตลาดและปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ที่มีผลต่อความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้าที่ซื้ออาหารแปรรูปในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาด ปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ ความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้าที่ซื้ออาหารแปรรูปออนไลน์ 2) ศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความไว้วางใจของลูกค้า 3) ศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า 4) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ที่มีผลต่อความไว้วางใจของลูกค้า 5) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า และ 6) ศึกษาอิทธิพลของความไว้วางใจที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคออนไลน์ที่เคยซื้ออาหารแปรรูปผ่านช่องทางเฟซบุ๊กไลฟ์ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยแบบง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของกลยุทธ์การตลาด ปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ ความไว้วางใจ และความภักดีของลูกค้าอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การตลาดมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความไว้วางใจของลูกค้า 3) กลยุทธ์การตลาดมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้า 4) ปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความไว้วางใจของลูกค้า 5) ปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้า และ 6) ความไว้วางใจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้า ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ที่มีการสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมและสามารถพัฒนาประสิทธิภาพของการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าจะสามารถทำให้เกิดความไว้วางใจและนำไปสู่ความภักดีของลูกค้าได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
ACU PAY THAILAND. เปิด 5 สถิติ social media ในประเทศไทย 2022. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://acuthai.com/สถิติการใช้-social-media-2022/.
Sanook. แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ครองใจคนไทยในปี2021. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sanook. com/hitech/1533905/
Praveet Elearning. การขายผลิตภัณฑ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://praveetelearning.com/
elearning_content.php?subject_id=1&chapter_id=9
Fillgoods. แผนการตลาดหลัก4p. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://fillgoods.co/online-biz/shop-orders-build-business-with-4p-make-more-sale/
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์อุบลราชธานี. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543
Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. New York: Harper and Row; 1970.
Jump N. Psychometric theory. 2nd ed. New York: McGraw Hill; 1978.
เพลินพรรณ โชติพงษ์ เยาวลักษณ์ นาควิเชียร วีนัส นาควัชระ นวพร เหมือนปิ๋ว ศิริพร แก้วสกต และฐิติมา ป้องคำสิงห์. ความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการยอมรับเทคโนโลยีและกลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชุดผ้าไทยสตรีด้วยวิธีไลฟ์สดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2563; 6: 147-154
ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์ และวิชิต อู่อ้น. ปัจจัยเชิงสาเหตุของความไว้วางใจเทคโนโลยีในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อทัวร์ออนไลน์จากผู้ประกอบการธุรกิจทัวร์. วารสารศิลปะการจัดการมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2565; 6 :358-373.
หทัยชนก วนิศรกุล และคณะ. การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจร้านนมสด. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2561; 13: 33-49.
วิราภรณ์ วิฑูรย์พิศาลศิลป์. กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความผูกพันของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มท็อปส์ออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.
Hollebeek L. D., Glynn, M. S., and Brodie R. J. Consumer Brand Engagement in Social Media: Conceptualization, Scale Development and Validation. Journal of Interactive Marketing Elsevier 2014; 28: 149-165.
ปารมี รอดกลิ่น. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจซึ่งทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook) ของผู้บริโภคในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.
Shao G. Understanding the appeal of user-generated media: A uses and gratification perspective. The Appeal of User Generated Media 2009; 19: 7-25.
กีรติ แย้มโอษฐ และสุมามาลย์ ปานคำ. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจในการซื้อซ้ำเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562; 6: 222-236.
Morgan R.M. & Hunt S.D. The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing 1994; 58:20–38.
Ndubisi. Relationship marketing and customer loyalty. Marketing Intelligence & Planning 2007; 25: 98–106.
จิดาภา ทัดหอม. การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.
ภาวิณี ทองแย้ม. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความจงรักพักดีของลูกค้าผู้ใช้บริการธุรกิจประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตไทยตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบนตัวแบบเส้นทาง PLS. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2560; 7: 120-150.