การพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

กมลดา เรืองอร่าม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการผู้ทรงคุณวุฒิ 2) พัฒนาระบบ API เชื่อมกับเว็บไซต์ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3) ปรับปรุงฐานข้อมูลงานวิจัย ปีงบประมาณ 2550 - 2562 4) ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (เวอร์ชัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้น 43 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง มีเกณฑ์ในการเลือก ดังนี้ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการใช้ระบบสารสนเทศฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัย (เวอร์ชัน 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินฯ สำหรับนักวิจัย และแบบประเมินฯ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.85
        ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการพัฒนางานประจำของผู้วิจัย (R2R) โดยพัฒนาผ่าน Web Application ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบบริหารจัดการผู้ทรงคุณวุฒิ ระบบ API เชื่อมกับเว็บไซต์ประกันคุณภาพการศึกษาภายในฯ ข้อมูล การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลงานวิจัย การจัดทำรายงาน และโมดูลการใช้งานโดยมี 3 ฟังก์ชันตามกลุ่มผู้เข้าใช้ระบบ ดังนี้ สำหรับแอดมินหรือผู้ปฏิบัติงาน สำหรับนักวิจัย และสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัย (เวอร์ชัน 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน โดยคะแนนเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก คือ ด้านระบบ API เชื่อมกับเว็บไซต์ประกันคุณภาพการศึกษาภายในฯ ด้านความปลอดภัย และด้านการใช้งานโปรแกรม ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมต่ำสุด คือ ด้านหน้าที่ของระบบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก นักวิจัยประเมินอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก คือ ด้านการใช้งานโปรแกรม ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ด้านหน้าที่ของระบบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก และด้านความปลอดภัย ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมต่ำสุด คือ ด้านหน้าที่ของระบบซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดี และผู้ปฏิบัติงาน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก คือ ระบบบริหารจัดการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการใช้งานโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม และฐานข้อมูลงานวิจัย ปีงบประมาณ 2550 – 2562 ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมต่ำสุดคือ ด้านหน้าที่ของระบบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสวนดุสิต; 2544.

สนั่น หวานแท้. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้นสำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. การค้นคว้าอิสระการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

หทัยชนก แจ่มถิ่น และ อนิรุทธ์ สติมั่น. การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการงานวิจัยและ งานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. การค้นคว้า อิสระปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

เทวัญ ทองทับ. การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยและฐานข้อมูลวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการปขมท 7(1), 10-21; 2561.

พงศกร ทวันเวช และคณะ. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย. วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 10(3), 96-103; 2563.