การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope เพื่อพัฒนาทักษะการสอน แบบโครงการสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสอนแบบโครงการของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ได้รับจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope และนำไปปรับใช้ในการสอนของนักศึกษากับเด็กปฐมวัย จำนวน 54 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ครั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope,แบบวัดประเมินทักษะการพัฒนาการสอนแบบโครงการ จำนวน 3 ทักษะ, แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการสอนแบบโครงการของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิธีการดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สาเหตุที่ใช้วิธีนี้เนื่องจากนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 จะต้องออกฝึกสอนในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนที่ใช้แนวการสอนแบบโครงการ และการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope จากนั้นศึกษาคู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2560 ( 3 – 6 ปี ) และตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ระดับก่อนประถมศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope สร้างแผนการสอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope เพื่อพัฒนาทักษะการสอนแบบโครงการจำนวน 24 กิจกรรม นำแผนการจัดกิจกรรมการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope เพื่อพัฒนาทักษะการสอนแบบโครงการให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ตรวจและนำมาแก้ไขตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยใช้ผลการทดสอบการวัดทักษะการสอนแบบโครงการของนักศึกษาสาขาวิชาการปฐมวัยชั้นปีที่ 4
ทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Hi/Scope เพื่อพัฒนาทักษะการสอนแบบโครงการ ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี วันละ 1 ชั่วโมง รวมทั้ง 24 กิจกรรม
เมื่อดำเนินการทดลองครบ 6 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้แบบทดสอบทักษะการสอนแบบโครงการของนักศึกษาสาขาวิชาการปฐมวัยชั้นปีที่ 4 เป็นชุดเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาปฐมวัยมีทักษะการสอนแบบโครงการสูงขึ้นทั้ง 3 ทักษะ ดังนี้ 1)ทักษะการวางแผนการสอน( =4.33) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม(=2.56), 2) ทักษะการปฏิบัติการสอน( =4.17) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม(=2.61), 3)ทักษะการทบทวนการสอน( =4.06) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม(=2.39)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ; 2560.
นรรัชต์ ฝันเชียร.นวัตกรรมการสอนแบบโครงการ Project Approach.กรุงเทพมหานคร: 2562
พิมพันธ์ เดชะคุปต์.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวคิดเทคนิคการสอน2.กรุงเทพมหานคร:สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ; 2544.
สุคนธ์ สินธนานนท์.สุดยอดวิชาการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนำไปสู่การจัดการเรียนของครูยุคใหม่กรุงเทพมหานคร:อักษรเจริญทัศน์ ;2550.
แปลน ฟอร์ คิดส์. การศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.กรุงเทพมหานคร; 2562
Piaget,J .The moral judgement of the child. New York: Collier Books.2001.
พัชรี ผลโยธินและคณะ.การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดไฮสโคป.กรุงเทพมหานคร; 2560
เอราวรรณ ศรีจักร . การพัฒนาทักษะการสอนแบบไฮสโคปของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะ.[ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ ประสานมิตร;2560.
นฤมล เนียมหอม. การสอนแบบโครงการสำหรับเด็กปฐมวัย ห้องเรียนครูแมว.กรุงเทพมหานคร: 2562
วรนาท รักสกุลไทยและคณะ.เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้แบบโครงการ.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.
พัชรี ผลโยธินและคณะ.การเรียนรู้ของเด็กไทยตามแนวคิดไฮสโคป.กรุงเทพมหานคร:อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง;2543.
วรนาท รักสกุลไทยและคณะ.เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้แบบโครงการ.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.
วัฒนา มัคคสมัน.รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงการสำหรับเด็ก.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนา;2552.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.2551.