การพัฒนาความใฝ่เรียนรู้และผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

วิชาญ แฟงเมือง

บทคัดย่อ

         


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education กับเกณฑ์พัฒนาร้อยละ 80 (3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education และ (4) ศึกษาความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ คือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบสังเกตความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


            1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education พบว่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education มีค่าดัชนีประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าดัชนี เท่ากับ 87.26/82.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.74


            2) ผลเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ พบว่าภาพรวมของคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            3) ผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education มีความใฝ่เรียนรู้โดยรวมในระดับดี

Article Details

How to Cite
แฟงเมือง ว. (2023). การพัฒนาความใฝ่เรียนรู้และผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 4–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260969
บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิชาญ แฟงเมือง, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง 2544). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ; 2554.

รพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จิตตฤกษ์. ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: open world; 2554.

อภิสิทธิ์ ธงไชย และคณะ. สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง Science, Technology, Engineering, and Mathematics Education: Preparing students for the 21st Century. กรุงเทพฯ: สาขาออกแบบและเทคโนโลยี สสวท; 2555.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. ระบบรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ด้วยแผนที่ของประเทศไทย (Reporting System of Ordinary National Educational Test with map of Thailand). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน); 2560.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. ผลคะแนนสอบโอเน็ต ม.6 ร่วงทุกวิชา. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน); 2561.

สมชาย อุ่นแก้ว. วิธีการสอนแบบ สะเต็มศึกษา (STEM Education). [อินเตอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kids.ru.ac.th/document/KM/STEM_by_T.Somchai-unkeaw.pdf

รักษ์ศิริ จิตอารี วิจิตร อุดอ้ายและวารีรัตน์ แก้วอุไร. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM EDUCATION เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2560; 2: 202-213.

สุดารัตน์ ธีรพิสิฐ. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) เรื่อง วงจรไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้า. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8: 325-337.

ช่อทิพย์ มารัตนะและวาสนา กีรติจำเริญ. การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารชุมชนวิจัย 2561; 12: 149-162.

สุวิชญา คงสุข, บุญเลี้ยง ทุมทองและพิกุล ประดับศรี. การพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาบเชิงวิทยา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร 2561; 16: 201-212.