วิเคราะห์ลักษณะเด่นที่ปรากฏในนวนิยายจีนแปลไทยเรื่อง “ผีเสื้อ” พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Main Article Content

กมลทิพย์ รักเกียรติยศ
ธนัชพร นามวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง วิเคราะห์ลักษณะเด่นที่ปรากฏในนวนิยายจีนแปลไทยเรื่อง “ผีเสื้อ” พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของนวนิยายจีนแปลไทยเรื่อง “ผีเสื้อ” ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเด่นที่ปรากฏในนวนิยายจีนแปลไทยเรื่อง “ผีเสื้อ” ประกอบด้วย 5 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านโครงเรื่อง แสดงให้เห็นถึงการกระทบทางการเมืองต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ด้านที่ 2 ด้านตัวละคร ในนวนิยายประกอบด้วย 5 ตัวละคร ด้านที่ 3 ด้านฉากหรือบรรยากาศ ประกอบด้วย ฉากภูเขา ฉากประชาชนเริงระบำโบกแพรแดง ฉากต้นพุทรา เป็นต้น แสดงถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นช่วยบรรยายให้ผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจน ด้านที่ 4 ด้านแก่นเรื่องหรือแนวคิด แสดงให้เห็นถึงสังคมและมนุษย์มีความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมการเมืองการปกครอง ด้านที่ 5 ด้านบทสนทนา ลักษณะของบทสนทนาช่วยทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงลักษณะนิสัยของตัวละคร

Article Details

How to Cite
รักเกียรติยศ ก. ., & นามวัฒน์ ธ. . (2023). วิเคราะห์ลักษณะเด่นที่ปรากฏในนวนิยายจีนแปลไทยเรื่อง “ผีเสื้อ” พระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 22–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260948
บท
บทความวิจัย

References

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน; 2554.

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ผีเสื้อ .กรุงเทพฯ :นานมีบุ๊คส์; 2561.

ศรีวิภา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. ชีวประวัติและผลงานวรรณกรรมของสันต์ ท.โกมลบุตร.[วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2518.

สุมาลี ลิ้มประเสริฐ. ความเปรียบเกี่ยวกับสุนัขและแมวในพระไตรปิฎก.นครปฐม :ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

อุดม หนูทอง. วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก.สงขลา : โครงการศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2522.

กุหลาบ มัลลิกะมาส.วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2520.

สมพร มีนตะสูตร. วรรณกรรมสังคมและการเมือง.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์; 2525.

ประทีป เหมือนนิล. วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์; 2519.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. วรรณกรรมไทยปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ; 2537.

วีรวัฒน์ อินทรพร. ทักษะการเขียน.สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร; 2545.