การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน TOEIC ผ่านระบบ LMS ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี -

Main Article Content

เสาวภา พงษ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคิดเห็นทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่เรียนรู้บทเรียนโทอิค (TOEIC) ผ่านระบบ LMS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษากลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่ได้มาจากการวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 138 คน เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เพื่อการสัมภาษณ์ด้านความคิดเห็น ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนสอบโทอิค (TOEIC tests) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโทอิค 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการสังเคราะห์สรุปเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยบทเรียนโทอิคผ่านระบบ LMS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 79.71  และนักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทเรียนโทอิคที่เรียนรู้ผ่านระบบ LMS มีข้อดีในด้านการนำเสนอเนื้อหาที่ละเอียดครอบคลุมทักษะทุกด้าน มีสื่อภาพและเสียงที่เหมาะสม สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลาอย่างไม่จำกัด และมีการจัดระบบการเข้าถึงและขั้นตอนการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะที่ดี อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาอุปสรรค์ที่ควรพัฒนาในด้านเนื้อหาซึ่งมีจำนวนมาก ควรแบ่งแยกเป็นส่วนๆ สำหรับการเรียนรู้ มีการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพคงที่มากขึ้น ควรมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ประกอบให้ผู้เรียน และจัดให้มีการอบรมผสมผสานกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย

Article Details

How to Cite
พงษ์พิพัฒน์ เ. . (2023). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน TOEIC ผ่านระบบ LMS ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: -. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 101–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260288
บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ เอกเพชร. การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/การจัดการศึกษาในศตวรรษที่-21.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ.2545. [อินเทอร์เน็ต]. 2545. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.pbru.ac.th/ejournal/PBRU20year_Strategy.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547. [อินเทอร์เน็ต]. 2547. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C134/%C134-20-2547-a0001.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.pbru.ac.th/ejournal/PBRU20year_Strategy.pdf

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เรื่องแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ภาคการศึกษาที่ 1/2564 (ฉบับที่ 2). [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://acad.pbru.ac.th/pdf/acad/Registered/Guidelines_for_teaching_For_regular_student_1_2564_number2.pdf

นรรัชต์ ฝันเชียร. มารู้จักหลักการสอน 9 ขั้นของกาเย่ (Gagne). [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/82909/-teamet-

เจษฎารัตน์ กล่ำศรี. การยอมรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2564

อนุชา สะเล็ม. การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอน วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพฯ

[สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2560

Kakasevski, G., et.al. Evaluating Usability in Learning Management System Moodle. ITI 2008 - 30th International Conference on Information Technology Interfaces, Skopje: 2008. pp. 613-618

Conde, M.Á., et.al. An Evolving Learning Management System for New Educational Environments Using 2.0 Tools. Interactive Learning Environments 2014; 22(2): 188-204

ราตรี พิงกุศล, วงษ์ธรรม สรณะ, นภา จันตรี และชูวงศ์ อุบาลา. การใช้ Web Blog ในการเรียนการสอนวิชาการบริหารการพัฒนา ภาคเรียนที่ 1/2554. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี; 2554

นิลุบล ทองชัย. การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 11 (NCCIT2015); 2-3 ก.ค. 2558; กรุงเทพมหานคร: 2558

วิชิต บุญสวัสดิ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสวนปัสสาวะแบบเป็นครั้งคราวผู้ป่วยเพศชาย สำหรับนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร 2555; 2:183-192

เจริญ ภูวิจิตร. การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. [อินเทอร์เน็ต]. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. 2560[เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nidtep.go.th/2017

/publish/doc/20210827.pdf

พรพรรณ เกิดจน. การพัฒนาบทเรียนฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่องการใช้งานห้องสมุดสำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559

สุระชัย หัวไผ่, พิมพ์ชนก พรมสวัสดิ์, สมโภชน์ อุไรเวโลจนากร. แนวทางการออกแบบระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปรับเหมาะสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 2561;13(1):1-14

Chung, C., Pasquini, L.A., and Koh, C.E. Web-based Learning Management System Considerations for Higher Education. Learning and Performance Quarterly 2013;1(4):24-37