รูปแบบแนวคิดกระบวนการยั้งในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา

Main Article Content

กรุณา มธลาภรังสรรค์
เจริญ ทุนชัย
อนุรักษ์ มีอิ่ม

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนการปลูกฝังการยั้งคิดตามแนวพุทธศาลนา เพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random) จำนวน 30 คน อันเป็นการเลือกตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการพิจารณาเลือกตัวอย่างด้วยตนเองเพื่อที่จะได้นำข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มาดำเนินการประมวลผล โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview)
      ผลการวิจัย รูปแบบกระบวนการปลูกฝังการยั้งคิดตามหลักพุทธศาสนา โดยภาพรวมประกอบด้วยหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต และหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนามีการประสานเชื่อมโยงครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้คนในสังคม โดยใช้วิธีการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนา ภายใต้บริบทของการศึกษา หลักพุทธศาสนาและสังคมซึ่งในระดับโลกิยะ นักเรียนนักศึกษาใช้ชีวิตอย่างถูกต้องเป็นธรรม มีการพัฒนาด้านกาย ศีล จิตใจ และปัญญา ในระดับโลกุตตระการพัฒนาคนเพื่อให้มีจิตใจ และปัญญาที่สมบูรณ์เห็นสัจธรรมของชีวิต หลักการคิดตามหลักสาราณียธรรมหากนำเอาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนการสอนจะทำให้มีความง่ายต่อการทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบความคิด

Article Details

How to Cite
มธัลาภรังสรรค์ ก. ., ทุนชัย เ. ., & มีอิ่ม อ. . (2023). รูปแบบแนวคิดกระบวนการยั้งในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 82–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260178
บท
บทความวิจัย

References

สุวรรณี แสงอาทิตย์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงด้านการ สูบบุหรี่ดื่มสุราและเสพสารเสพติดในวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550; 30 (2): 12-9.

วันชัย วัฒนศัพท์.ศ.นพ. ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน พระปกเกล้า; 2547.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของ วัยรุ่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2553.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. ความขัดแย้งในสังคมไทย: ช่องว่างของการรับรู้และความเข้าใจ. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542

กองวิจัยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. มาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจและมาตรการทาง สังคมกับการแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษาต่างสถาบัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ; 2555.

วิภาดา พินลา. กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาเพื่อปลูกฝัง จริยธรรมในผู้เรียนยุคศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2559;9 (1):1430- 1442.

แสง จันทร์งาม. การสอนจริยธรรมในโรงเรียนกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา ;2524.

ทิศนา แขมมณี. การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

ประเวศ วะสี. วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา. วารสารหมออนามัย 2546 ;12 (4) : 7-21.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาตปิฎก 2500.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2535.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. ความขัดแย้งในสังคมไทย: ช่องว่างของการรับรู้และความเข้าใจ. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. รายงานคุณลักษณะสำคัญที่พึงประสงค์ของคนไทยตามแต่ละช่วงวัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา; 2547.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ; 2545.

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงาน. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วย การบริหารอาชีวศึกษาจังหวัดและอาชีวศึกษาภาค. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง ศึกษาธิการ; 2553.