ความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กฤษณภรณ์ กุตระแสง
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสบการณ์การทำงานและกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการเปิดตารางของโคเฮน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครูจำนวน 196 คน เมื่อได้กลุ่มตัวอย่างแล้วใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 44 ข้อ นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริงจำนวน 30 คน โดยได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่


        ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านพบว่าด้านการส่งเสริมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 (3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันและ (4) ครูที่มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยภาพรวมแตกต่าง ส่วนรายด้านพบว่าด้านการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรฐานสมรรถนะและด้านการประเมินผลการจัดการเรียนสอนของครูตามหลักสูตรฐานแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นรรัชต์ ฝันเชียร. หลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/79321

ตรีนุช เทียนทอง. รมว.ศึกษาธิการ เปิดโครงการนำร่องการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา.[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.obec.go.th/archives/501798

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติกรุงเทพฯ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://backoffice.onec.go.th/

uploads/Book/1543-file.pdf

จันทิมา รักดี. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2564.; 6: 106-116.

จันทิรา พุฒตาล. ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูกลุ่มนนท์วัฒนะ อําเภอปากเกร็ด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.edu-journal.ru.ac.th/ index.php/abstractData/viewIndex/590.ru

จิราภา เพียรเจริญ. บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2556.

สุรพงศ์ อึ๊งโพธิ์และ ชวน ภารังกูล. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. [อินเทอร์เน็ต]. ราชบุรี; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2565].

เข้าถึงได้จาก https://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss17.pdf

ภัทรนิชา สุดตาชาติ. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้้เรียนเป็นสําคัญในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตคลองสามวา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/

นฤมล พลมั่น. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อบทบาทการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอคีรีมาศ [อินเทอร์เน็ต]. สุโขทัย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การเครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.; 2560.

มาเรียม นิลพันธุ์, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และ อุบลวรรณ ส่งเสริม. การประเมินผลหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2558; 7: 26-41.

ภัทรศักดิ์ สินทระ. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาเกษตรศาสตร์; 2564.