การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา HSTH307 การอ่านคิดพัฒนาชีวิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา HSTH307 การอ่านคิดพัฒนาชีวิต (มคอ.3) จำนวน 5 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ละ 4 ชั่วโมง
และแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R อยู่ในระดับมากที่สุด
(= 4.70, S.D. = 0.35) และมีค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ E1/E2 เท่ากับ 83.90/84.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สูงกว่าก่อนเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่; 2563.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3R8C. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bict.moe.go.th/2019/index.php?option=com_content&view=article&id
=342:21&catid=51&Itemid=372.
เอมอร เนียมน้อย. พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2551.
พรรณิการ์ สมัคร. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่ามีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.
Queen’s University. Critical Reading for Graduate Students. [Internet]. 2013 [cited 2020 November 17]. Available from:https://sass.queensu.ca/wp-content/uploads/sites//2013/09/Criticalreading-for-graduate-students. pdf.
พิชญา เชี่ยวภาษา. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R.
การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 12 ประจำปีการศึกษา 2562; 20
กรกฎาคม 2562; มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: 2562. 450-456.
Williams, S. Guiding students through the jungle of research based literature. College Teaching 2005; 53:137-139.
NUR’AISYAH. The effect of using SQ6R (Survey, Question, Read, Record, Recite, Review, Reflect, Reshape) strategy toward reading Comprehension of the first year student at SMA N 1 TEMPULING district Inhil Regency. [Thesis]. Riau: State Islamic University of Sultan Syarif Kasim Riau; 2012.
จันทนา สุขสมบูรณ์. ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยเทคนิค SQ6R [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
ปิยาภรณ์ ศรีจันทร์. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีการสอนแบบ SQ6R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:
มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2538.
สุดารัตน์ ฉายทอง. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ6R เรื่อง Travel around Sisaket สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.kruwandee.com/print.php?action=print&id=1245&module=forum.
ธันยาลักษณ์ สังขลักษณ์. การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
อารีย์ ทองเพ็ง. ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ความเข้าใจในการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] สงขลา:มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2556.