การประยุกต์ใช้แนวคิดการเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ (Process Genre – Approach) เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนความสามารถการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีน ก่อนและหลังการสอน โดยใช้แนวคิดการเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ (Process Genre – Approach) และ 2) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีน หลังการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 4 รายวิชา การเขียนภาษาจีน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนรายวิชา การเขียนภาษาจีน การเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ (Process Genre – Approach) จำนวน 3 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนภาษาจีน ก่อนและหลังการสอน 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนในการเรียนรายวิชา การเขียนภาษาจีน หลังการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 4) เกณฑ์การประเมินความสามารถการเขียนภาษาจีน ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนมีผลคะแนนความสามารถการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีน ทั้ง3ประเภท คือ 1) ผลคะแนนความสามารถการเขียนประกาศ ก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 54.01 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 64.93 2) ผลคะแนนความสามารถการเขียนหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 50.95 หลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 64.39 และ 3) ผลคะแนนความสามารถการเขียนจดหมายสมัครงาน ก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 46.21 และหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 58.61 ค่าการทดสอบทีทั้ง 3 เรื่อง เท่ากับ 17.28 14.11 และ12.91 ตามลำดับ และผู้เรียนส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงเจตคติในทางบวกทุกด้านเพิ่มขึ้นหลังกระบวนการเรียนการสอนการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีนแบบอรรถฐานกระบวนการ (Process Genre – Approach) โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 63.73 และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 78.92 ซึ่งผลการวัดเจตคติหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 10.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
Zhuang Lin H. A survey of systemic-functional grammar. 5th ed.China: Beijing Language and Culture
University Publishing;1989.
Halliday M. A. K., McIntosh A & Strevens P. The Linguistic Sciences and Language Teaching. 4th ed. London: Longmans. Published online by Cambridge University Press;1964.
Richard B, Goodith W. A process genre approach to teaching writing.ELT Journal 2000; (54)2:153–160153.
Xuanxi L. Rating Criteria for Writing.2th ed. China: Peking University Publishing;2010.
บุญเรียง ขจรศิลป์. การสร้างแบบวัดเจตคติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2528; 2:137-155.
Chunhong Q.Application of Process Genre Approach in Teaching Chinese Writing to Southeast Asian Students. Journal of Southwest Petroleum University Social Science Edition 2019;18(2):112-119.