การประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาและปรับปรุงการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ได้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่มีหน้าที่ในการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2563 จำนวน 8 คน ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling)
เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้แก่
1) ด้านบุคลากร 2) ด้านระยะเวลา 3) ด้านระเบียบ/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 4) ด้านนโยบายมหาวิทยาลัย และ 5) ด้านอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในการประเมินผลปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทุกปัจจัยล้วนส่งผลต่อการดำเนินงาน
2. แนวทางพัฒนาและปรับปรุงการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้แก่
2.1 ควรให้ความสำคัญกับการประเมินแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมากขึ้นและกำหนดเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสม
สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานในระดับผลกระทบได้อย่างชัดเจน ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.2 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงประโยชน์ของการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปี
2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศทางการบริหารเพื่อใช้รวบรวมและประมวลผลความสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย
2.4 พัฒนาการสื่อสารในองค์กรให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มพลังเชิงบวกในการบริหาร
ให้บุคลากรมีมุมมองในเชิงบวกในการพัฒนาองค์กร การพัฒนาตนเองและการพัฒนาแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรายบุคคลให้มีความสอดคล้องกับภาระงานและสถานการณ์ของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและอนาคต เพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
ฝ่ายเลขานุการ ก.บ.จ. ลำพูน. การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ.2561 – 2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.
ประกอบ บำรุงผล. การบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง = Construction management and supervision. กรุงเทพฯ :
ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2542.
[5] วัชรินทร์ สุทธิศัย. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ :
กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2557.
มยุรี อนุมานราชธร. นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์; 2549.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. ความลับขององค์การ พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมนิติ; 2535.