วิธีการแสดงตัวละครม้าอุปการในการแสดงโขน

Main Article Content

วรเชษฐ์ บุญชาลี
ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแสดงตัวละครม้าอุปการในการแสดงโขน ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และรับการฝึกหัดกระบวนท่าตัวละครม้าอุปการ จากอาจารย์ปกรณ์ วิชิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีแห่งการเคลื่อนไหว นำเสนอผลการวิจัยแบบการเขียนพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประดิษฐ์กระบวนท่าเต้นม้าอุปการในการแสดงโขน คือ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และออกแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2501 ณ โรงละคอนศิลปากร ผู้ที่ได้รับบทบาทตัวละครม้าอุปการท่านแรก คือ อาจารย์จตุพร รัตนวราหะ
บทบาทของม้าอุปการเป็นตัวละครม้าพระที่นั่งของพระรามที่อยู่ในพิธีอัศวเมธ เพื่อแสดงถึงบารมีของพระมหากษัตริย์โบราณของอินเดีย มีลักษณะตามตำราที่กำหนดไว้ คือ มีหัวสีดำ มีตัวสีขาว
ซึ่งกระบวนท่าม้าอุปการเกิดจากการเลียนแบบกระบวนท่าม้าในธรรมชาติผสมผสานกับกระบวนท่าในนาฏศิลป์ไทยตัวละครม้าอุปการในการแสดงโขนมีการทำมือม้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ
การกำมือทั้งสองข้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนเท้าหน้าของม้าในธรรมชาติ ซึ่งปรากฏลักษณะการใช้ข้อมือ 4 แบบ ลักษณะการใช้ศีรษะ 4 แบบ
ลักษณะการใช้ขาและเท้าในกระบวนท่าเต้นม้าอุปการทั้งหมด 12 แบบ ม้าอุปการมีกระบวนท่าที่สำคัญทั้งหมด 28 กระบวนท่าและมีลักษณะการใช้พลัง 3 ระดับในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครม้าอุปการ คือ


1. ระดับเบา หมายถึง กระบวนท่าม้าอุปการที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือไม่เคลื่อนที่ในการแสดง เพื่ออวดความงามทางด้านร่างกายและเครื่องแต่งกายของผู้แสดง


2. ระดับปานกลาง หมายถึง กระบวนท่าม้าอุปการที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและใช้แรงสม่ำเสมอเพื่อสื่อสารถึงการเดินทาง การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในอิริยาบถต่าง ๆ


3. ระดับแรง หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายในความแรงที่หนัก เป็นการเคลื่อนที่มีความรวดเร็วดุดันสื่อถึงอารมณ์ที่ไม่ปกติของตัวละครหรือเป็นการอวดพละกำลังของตัวละคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศุภวรรณ ตันมณี. การศึกษาเรื่องม้าในดินแดนประเทศไทย จากหลักฐานทางโบราณคดี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2552.

โสภณ ชูช่วย. บทบาทพิเศษของม้าในวรรณคดีไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์; 2535.

_______ . ม้าในนาฏกรรมไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 2556;1:131.

สุวรรณี ชลานุเคราะห์. เรื่องกฏเกณฑ์นาฏศิลป์ไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=bkP- Ca3HZFo

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547

ศุภชัย จันทร์สวรรณ์. การศึกษาวิเคราะห์วิธีการร่ายรำ และลีลาท่ารำของโขนตัวพระ : กรณึศึกษาตัวพระราม

[ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

สวภา เวชสุรักษ์. หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต].

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.