ผลการใช้โปรแกรม GeoGebra ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ

Main Article Content

สุภาภรณ์ สดวกดี
ระพีพัฒน์ ชำนิยัญ
พิทยารัตน์ สุริยันต์
จินจิรา แก้วอินทร์
เกศินี คชสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ก่อนเรียนและ หลังเรียน
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra เรื่อง การแปลง ทางเรขาคณิต
โดยประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ห้อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 รวม 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยการจัดกิจกรรมตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับโปรแกรม GeoGebra โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัญญาพร เชื้อมั่ง, ขวัญ เพียซ้าย, สุกัญญา หะยีสาและ, ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์ และเอนก จันทรจรูญ . การศึกษาความสามารถในการพิสูจน์ เรื่อง เส้นขนานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2563; 19 (2): 40-49.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.). สพฐ. แจงเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3pAKf67

Kachka P. Educator’s Voice: What’s All this Talk about Flipping?. [Internet]. 2012 [cited 2021 August 11]. Available from: https://tippie.uiowa.edu/faculty-staff/allcollege/kachka.pdf

อุบลวรรณ ปัญนะ. ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทางที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

กฤตนุ วิเศษประสิทธิ์. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดบูรณาการแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2562; 12 (2): 1-17.

อากร พุทธรักษา, รัชนิกร ชลไชยะ, วริน วิพิศมากูล และจุฑาพร เนียมวงษ์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความเครียด เรื่อง จำนวนจริง ด้วยวิธีห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2562; 16 (73): 58-65.

พิพากษา บุญฤทธิ์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความคิดทางเรขาคณิต เรื่อง วงกลม ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s sketchpad (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

วิภาพร ทิพย์รักษา. ความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม GeoGebra. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2560.

วีริศ กิตติวรากูล, ขวัญ เพียซ้าย, สุกัญญา หะยีสาและ และเอนก จันทรจรูญ. การศึกษาความรู้เชิงมโนทัศน์และความสามารถในการพิสูจน์ เรื่อง วงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2562; 18 (2): 67-74.

วิชิต เหลาทอง, กรรณิการ์ เด่นดวง, เพ็ญศรี จิตจันทร์, เกรียงไกร อ่อนมิ่ง และอภินันท์ ชมเชย. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอนแบบโครงงานคณิตศาสตร์เป็นฐานบูรณาการสะเต็มศึกษา เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มบ่อทอง 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. 2561.

ภาวดี วงศ์ดี. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับโปรแกรม GSP. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ชูฉกาจ ชูเลิศ. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2564.