การพัฒนานวัตกรรมรถเข็นเอนกประสงค์จากถุงน้ำยาล้างไตสำหรับผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารถเข็นเอนกประสงค์จากถุงน้ำยาล้างไตใช้แล้วสำหรับผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว และ (2) ประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 14 คน คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว จำนวน 6 คน ผู้ดูแล จำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ จำนวน 2 คน ในชุมชนตำบลธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมากที่สุด (=4.67, SD =0.18) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความปลอดภัยในการใช้งาน นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีราคาต่ำกว่าราคากลางถึง 4.9 เท่า ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้สะดวกเพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. [อินเตอร์เน็ต] นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562] เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/node/232
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ [สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N10-07-61.asp
ประเสริฐ อัสสันตชัย, บรรณาธิการ. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น; 2556.
พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์ และอโณทัย เฉลิมศร. ประสิทธิภาพการป้องกันการเกิดแผลกดทับของที่นอนชนิดไม่มีการเคลื่อนที่ของลมและชนิดที่มีการเคลื่อนที่ของลม. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(3): 83-96.
Linton, A.D., & Lach, H.W. (Eds.). Matteson & McConnell's Gerontological Nursing. 3rd ed. St. Louis: Saunders/Elsevier; 2007.
กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน. [อินเตอร์เน็ต] นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข [สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2562] เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. รายงานสถิติภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560. เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2561.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธงชัย. สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี 2560. เพชรบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธงชัย; 2561.
ปรเมษฐ์ ปุริมายะตา, นิสากร วิบูลชัย, ถิตาพร วงษาไฮ และวันเพ็ญ วรามิตร. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุดที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(3): 104-117.
ภูดิศ สะวิคามิน. ที่นอนลมที่ผลิตจากถุงน้ำยาล้างไตเพื่อป้องกันแผลกดทับ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(3): 456-463.
มูลนิธิชัยพัฒนา. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิชัยพัฒนา. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html
Johnson, C. N. The benefits of PDCA. Quality Progress 2016; 49(1): 45.
Gidey, E., Jilcha, K., Beshah, B., & Kitaw, D. The plan-do-check-act cycle of value addition. Industrial Engineering & Management 2014; 3(124): 1-5.
Sundaresan, S., Ramesh, M., Sabitha, V., Ramesh, M., & Ramesh, V. A detailed analysis on physical and comfort properties of bed linen woven fabrics. International Journal of Advance Research and Innovative Ideas in Education 2016; 2(2): 1649-1658.
จิณพิชญ์ชา มะมม. บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555;20(5): 478-490.
Guy, H. Pressure ulcer risk assessment. Nurs. Times 2012; 108: 16-20.