การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ชนาธิป บุบผามาศ
จีระศักดิ์ ทวีเงิน
พระวิทยา ขนชัยภูมิ
สรัล สุวรรณ
มาเรียม นิลพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2)
ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ
นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น 2) แบบประเมินทักษะอาชีพ และ
3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า


1) หลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมีการพัฒนาขึ้นโดยมีหลักการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะอาชีพในท้องถิ่น
และการจัดหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น มีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรตาม AADDR Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างองค์ความรู้ (Acknowledge : A) ขั้นตอนที่ 2 แนวทางการปฏิบัติ (Action : A) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาความรู้
Development : D) ขั้นตอนที่ 4
การออกแบบ (Design : D) และขั้นตอนที่ 5 ผลงานตามสภาพจริง (Review : R)


2) ประสิทธิผลของหลักสูตร มีดังนี้ 2.1)
นักศึกษามีทักษะอาชีพโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.60, S.D. = 0.49) 2.2)
นักศึกษามีความคิดเห็นต่อหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.59, S.D.=
0.49)

Article Details

How to Cite
บุบผามาศ ช., ทวีเงิน จ., ขนชัยภูมิ พ., สุวรรณ ส., & นิลพันธุ์ ม. (2023). การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(3), 13–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/256572
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 - 2580. กรุงเทพฯ; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ; 2560.

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์; 2555.

จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร.กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea-

ปางอุบล อำนวยสิทธิ์. ภาวการณ์ “ไม่มีงานทำ” ของประชากรไทย .[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565].เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/business/feature/2207591

ฆนัท ธาตุทอง. เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. เพชรเกษมการพิมพ์; 2551.

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ.การพัฒนาแนวทางประกอบการใช้กรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่น. [อินเทอร์เน็ต]. 2556[เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/34760/35473

ปัทมาพร ท่อชู. การทำความเข้าใจ การออกแบบบรรจุภัณฑ์. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=732&section=37&issues=28

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. บรรจุภัณฑ์อาหาร. สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย; 2541.

เกศแก้ว ประดิษฐ์.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาที่มีผลต่อการตอบรับในเชิงพาณิชย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบอฆอ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561; 10: 127-139.

Gratthorn, A. A., Boschee, F., Whitehead, B. M., & Boschee, B. F. Curriculum Leadership: Strategies for Development and Implementation. 5th ed. Thousand Oaks: SAGE Publications; 2019.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และเทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา.วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 2552; 10: 13 -24.

คันศร คงยืน. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ อาชีวศึกษา

ในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต]. นครราชสีมา:

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2552.