การพัฒนากิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

กำธร คงอรุณ
ณัฐกานต์ พึ่งกุศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและเพื่อศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมาย
คือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน จำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมฐาน Cup challenge กิจกรรมฐาน
คนละครึ่งหัวใจ กิจกรรมฐานปริศนาในถ้ำ กิจกรรมฐานเชือกพิสดาร กิจกรรมฐานเกมอักษรนำคำตอบ และแบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนผู้เรียน จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับครูผู้สอนประเมินผู้เรียน ฉบับที่ 2 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับผู้เรียนประเมินตนเอง และฉบับที่ 3
แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสำหรับเพื่อนประเมินผู้เรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และภาพรวมของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ซึ่งมีค่าร้อยละ 78.82 เมื่อพิจารณาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีสมรรถนะสำคัญอยู่ในระดับดีเยี่ยมจำนวนของผู้เรียนที่มีสมรรถนะสำคัญอยู่ในระดับดีเยี่ยมมากที่สุด คือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ด้านความสามารถในการคิด ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_

PlanOct2018.pdf

นรรัชต์ ฝันเชียร. 7กุลยทธิ์ที่ช่วยสร้างชั้นเรียนที่มีคุณภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2562].

เข้าถึงได้จาก: https://www.trueplookpanya.com/education/content/73708/-teaarttea-teaart-teamet.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับ Organisation

for Economic Co-Operation and Development (OECD). ตารางข้อมูลผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1XwOytxIWbR6SJQI3s54wvyBXxqmhlZz1/view.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

(O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) : ฉบับสรุป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค; 2545.

กระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2555.

ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. ชุดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดค่ายคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :

เดอะมาสเตอร์กรุปแมเนจเม้นท์; 2542.

สมวงศ์ แปลงประสพโชค และคณะ. ค่ายคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษา สถาบันราชภัฎพระนคร; 2543.

วันชนะ ปานสุวรรณภรณ์, นวลชื่น ธานีพูน และสุดาภรณ์ ภู่แพร. กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสิงห์บุรี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2559; 11(ฉบับพิเศษ):25-41.

นิพนธ์ สารถ้อย. กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ สำหรับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสกาดพัฒนาจังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2546.

ขวัญชนก แก้วสี และรุจโรจน์ แก้วอุไร. กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์ 2557; 1:63-72.