การบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

Main Article Content

คงขวัญ กลิ่นจันทร์
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อกระบวนการบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลมี 2 ส่วนคือ ส่วนแรกแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง, กลุ่มผู้บริหารระดับปฏิบัติการและผู้ปฏิบัติงานด้านการข่าว จำนวน 12 คน เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ส่วนที่สอง แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร ได้แก่ แผนปฏิบัติราชการกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2563-2580 และระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ฉบับสมบูรณ์ กรมประชาสัมพันธ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่              แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จำนวน 3 ฉบับ และแบบวิเคราะห์เอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและศึกษาจากเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสร้างข้อสรุป


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยมีโครงสร้างการดำเนินงานแบบระบบราชการที่สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ตามนโยบายภาครัฐเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน โดยนโยบายการบริหารงานข่าวมุ่งเน้นความถูกต้อง ความชัดเจน ความเที่ยงตรง และครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจและเชื่อถือ ส่วนกระบวนการบริหารงานข่าวเริ่มจากการประชุมโต๊ะข่าวกรมประชาสัมพันธ์ร่วมกันของกองบรรณาธิการข่าวทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคร่วมกันทุกวันเพื่อกำหนดประเด็นข่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนจะมอบหมายผู้สื่อข่าวในสายลงพื้นที่ทำข่าว 2) ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการบริหารงานข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเป็นระบบราชการ นโยบายผู้บริหาร บุคลากรขาดความเชี่ยวชาญและไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมทั้งการแข่งขันและการหารายได้ และ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อกระบวนการบริหารงานข่าวของวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างการบริหารด้านบุคลากรในระบบราชการ ภาวะสมองไหลเพราะขาดความไม่มั่นคงในอาชีพ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ระเบียบปฏิบัติของทางราชการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน และวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วีระยุทธ วิริยะสัจจะจิตร. การบริหารงานข่าววิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์ที่มีผลต่อการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2556.

พัชราภรณ์ สุวลัย. บทบาทสื่อวิทยุกระจายเสียงของรัฐกับการรับรู้ข่าวสารภาครัฐของประชาชน จังหวัดพะเยา. เชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ]. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ; 2553.

ครรชิต สิงหเสมานนท์. ลมหายใจวิทยุกระจายเสียงในยุคดิจิทัล Radio Broadcasting Breath in the Digital Age. วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2562; 3: 25-37.

วิวัฒนาการของวิทยุในประเทศไทย. สื่อการสอน ในรายวิชาการบูรณาสารสนเทศ [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: สาขาเทคโนโลยีสารเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563 ]. เข้าถึงได้จาก: https://allitsite.wordpress.com

สุมน อยู่สิน. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี. วิทยุกระจายเสียงในโลกปัจจุบัน. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานวิทยุกระจายเสียง หน่วยที่1นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

สุมน อยู่สิน. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง. วิทยุกระจายเสียงในโลกปัจจุบัน .เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานวิทยุกระจายเสียง หน่วยที่1นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

ครรชิต สิงหเสมานนท์. ลมหายใจวิทยุกระจายเสียงในยุคดิจิทัล Radio Broadcasting Breath in the Digital Age. วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2562; 3: 25-37.

พาณิชย์ สดสี. แนวทางการป้องกันและมาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จในเฟซบุ๊ก.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 60 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2560-2561

สุรินทร์ แปลงประสพโชค. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรายการข่าววิทยุกระจายเสียง. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานวิทยุกระจายเสียง. หน่วยที่ 9 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. ความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2561

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. บริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลหลอมรวม. ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.