ความไว้วางใจ การรับรู้คุณค่าเชิงประสบการณ์ และความตั้งใจสนับสนุนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบบูรณาการ (OMNI-CHANNEL) ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก -

Main Article Content

พรกนก เพลินสุข
ลัสดา ยาวิละ
รัตนา สิทธิอ่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไว้วางใจ และการรับรู้คุณค่าเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจสนับสนุนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบบูรณาการของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความไว้วางใจด้านความสามารถ (x1), ความซื่อสัตย์ (x2) และความเมตากรุณา (x3) ส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจสนับสนุนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบบูรณาการของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 79.9 ดังสมการ ความตั้งใจสนับสนุน = 0.235 (x1) + 0.373 (x2) + 0.396 (x3) ส่วนการรับรู้คุณค่าเชิงประสบการณ์ พบว่า คุณค่าทางอารมณ์ (x1) คุณค่าทางสังคม (x2) และด้านคุณค่าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (x3) ส่งผลต่อความตั้งใจสนับสนุนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบบูรณาการของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 79.7 ดังสมการ ความตั้งใจสนับสนุน = 0.375 + 0.363 (x1) + 0.142 (x2) + 0.438 (x3)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ [องค์การมหาชน]. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ.2561 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; [อินเทอร์เนต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx

บุญฑริกา ตั้งอุดมสิริ. กลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจ ร้านอาหารเคลื่อนที่ [Food Truck]

กรณีศึกษา ร้าน Answer Cheeze [แอนเซอร์ ชีส]. [การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559.

สรวดี ศรีเวทย์บดี. การศึกษาการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบช่องทางไร้รอยต่อ [Omnichannel] ในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย: การศึกษาจากรายงานประจำปีพ.ศ. 2561. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2562; 2: 1-11.

ปาริชาติ เพชรพุก. โอกาสทางการตลาดของเครื่องสำอางสมุนไพรไทยในตลาดโลก.[การค้นคว้าอิสระปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเพทฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902030815_8036_6887.pdf

สํานักงานสงเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (สสว.). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ [Bio-Based Industry]: อุตสาหกรรมเครื่องสําอาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพปณณธร มีเดีย; 2559.

ขวัญดาว ศรีวิโรจน์วงศ์และปฐมา สตะเวทิน. ความไว้วางใจต่อการซื้อสินค้าประเภทเครื่องสำอางผ่านทาง Facebook.วารสารรัชตภาคย์ 2562; 13: 98-110.

เบญญา หวังมหาพร และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. ผลของความไว้วางใจและคุณค่าที่รับรู้ได้ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าผ่าน ทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2563; 19: 151-163.

ปาณิศา ศรีละมัย. ความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจาก

ธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัย 2561; 7: 69-78.

ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

อัมพรภัคว์ งามบุญอนันต์. ความตั้งใจสนับสนุน [PATRONAGE INTENTION] ต่อห้างสรรพสินค้าที่ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบบูรณาการ [OMNI-CHANNEL] ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายตอนต้นและเจเนอเรชันวายตอนปลาย. [การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

รังสิยา พวงจิตร. เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและความภักดีต่อตราสินค้าของเครื่องสำอาง Oriental Princess ของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

สิริวดี ยู่ไล้. การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางออร์แกนิคของข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2558.

อุษณีย์ เส็งพานิช. ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2562; 1:103-117.

กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ. การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร.; [อินเทอร์เนต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/sustainable_agri-knowledge-files-431291791815.

Cochran, W. G. Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.; 1953.

นิศาชล รัตนมณีและประสพชัย พสุนนท์. อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. [อินเทอร์เนต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/13-3/Journal13_3_16.pdf.

รัศมิ์ลภัส วรเดชธนันกุล. ความไว้วางใจ การสื่อสารแบบปากต่อปากเชิงบวก และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อแพ็กเกจทัวร์ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง. [อินเทอร์เนต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2419/1/ratlapat_wora.pdf.

ชญานนท์ ใช้สง่า. ปัจจัยความไว้วางใจในตราสินค้า และชุมชนออนไลน์ของตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559.

Zarantonello,L., Jedidi, K.,& Schmitt, B.H. Function and experiential routes to persuasion: An analysis of advertising on emerging versus developed markets. International Journal of Research in Marketing-Special Issue on Marketing in Emerging Markets 2013, 30(1): 46-56.

รัศมาวรรณ ละมัยเกศ. การรับรู้คุณค่าของช่องทางออนไลน์และสังคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำในเว็บไซต์ที่ให้บริการรวมกลุ่มซื้อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.

นฤมล กิมภากรณ์ และคณะ. การรับรู้คุณค่าหลายมิติจากประสบการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม.

วารสารวิทยาการจัดการ 2562, 36(2) : 1-30.