การพัฒนาหนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งหนังสือนับเป็นสื่อการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่เด็กชื่นชอบ ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยบทความนี้จะนำเสนอสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหนังสือ ได้แก่ 1) ความหมายของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ประโยชน์ของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย 3) หนังสือกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 4) การพัฒนาหนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งแสดงรายละเอียดของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านด้วยหนังสือต่าง ๆ รวมทั้งยกตัวอย่างงานวิจัยและหนังสือที่นำมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในแต่ละด้าน นอกเหนือจากนั้น บทความวิชาการนี้ยังได้นำเสนอถึงการพัฒนาหนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยนำกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน มาใช้ในการพัฒนาหนังสือเพื่อช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเหมาะสม สอดคล้องตามความต้องการของเด็กปฐมวัย บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่สนใจในการนำแนวคิดที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาหนังสือตามหลักการวิจัยและพัฒนาอันจะช่วยให้ได้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน; 2556.
จรรยวรรณ เทพศรีเมือง. การทำหนังสือสำหรับเด็ก. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2560.
ถวัลย์ มาศจรัส และวรรณา มังบู่แว่น. นวัตกรรมการศึกษา ชุด แผนการจัดกิจกรรมการใช้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย (อนุบาล). กรุงเทพฯ: ธารอักษร; 2555.
วิภารัตน์ สำเภาทอง. ความสนใจในหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 2 [การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
เบญจมาส แสงใยมณี. การศึกษาพัฒนาการของภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กเริ่มหัดอ่าน 3 – 5 ปี ที่ชนะการประกวดตั้งแต่ พ.ศ.2515 – พ.ศ.2548 [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.
อังคณา กวีวัฒนถาวร. ผลการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมเล่านิทานประกอบการพับกระดาษ. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=
&bcat_id=16
สิริพรรณ พนมสวรรค์. ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร่วมกับนิทานเสริมจินตนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.cpn1.go.th/2021/?p=8984
ชีวัน วิสาสะ. คุณฟองนักแปรงฟัน. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก; 2560.
จุไรรัตน์ มณีฉาย. รายงานผลการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ประกอบกิจกรรมการเล่านิทานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.tungsong.com/abstract/abstract14/complete.pdf
รตีลดา ประพันธ์กานต์. ถู แตะ เป่า เขย่า สนุกจัง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ คิดตี้; 2560.
นฤมล จิ๋วแพ. ผลการเล่านิทานประกอบภาพที่มีต่อพฤติกรรมความเอื้อเฟื้อของเด็กปฐมวัย. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.
อริสา โสคำภา. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.
ริเอโกะ นาคางาวะ. กุริ กับ กุระ. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก; 2560.
อ้อมใจ วนาศิริ. การใช้หนังสือนิทานเล่มใหญ่เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2556.
ชนาธิป บุบผามาศ. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอีสปประกอบคำถาม. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.
ตุลย์ สุวรรณกิจ. ทายซิ ทายซิ นั่นตัวอะไร. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก; 2555.
มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.