ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ประสารโชค ธุวะนุติ
ชนัด เผ่าพันธ์ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีเป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีจำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.98) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการชุมชน (x̅ = 4.03) ด้านผู้นำชุมชน (x̅ = 3.99) ด้านการมีส่วนร่วม (x̅ = 3.96) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม
ชุมชน (x̅ = 3.95) และด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน (x̅ = 3.94) ตามลำดับ 2) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.62) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกิจกรรม (x̅ = 4.08) ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (x̅ = 4.07) ด้านสิ่งดึงดูดใจ
(x̅ = 4.02) ด้านความสามารถในการเข้าถึง (x̅ = 3.95) ด้านความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว (x̅ = 3.94) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (x̅ = 3.92) ตามล าดับ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในตำบลบางขุนไทร ได้แก่ด้านการมีส่วนร่วม (X2) ด้านผู้น าชุมชน (X1) และด้านการ
บริหารจัดการชุมชน (X3) มีประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) ร้อยละ 44.90

Article Details

How to Cite
ธุวะนุติ ป., & เผ่าพันธ์ดี ช. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 39–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/255586
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. Tourism Economic รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว Review.

กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน; 2562.

Richards, G. Creating a New Tourism? In tourism I culture : Debates del Congress de Truism Cultural. Barcelona : Interacts Foundation; 2007.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤศจิกายน 12]. เข้าถึงได้จาก:

http://tourism-dan1.blogspot.com/.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. ข้อมูลจังหวัดเพชรบุรี และจำนวนประชากรและบ้านแยกตามหมู่บ้าน อำเภอบ้านแหลม. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 21]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/a/petburi.go.th/big-data/population/ population11.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนไทร. สภาพทั่วไปองค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนไทร. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฎาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkhunsai.go.th/site/

อำไพ สว่างศรี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.

สัมพันธ์ เตชะอธิก และวินัย วงศ์อาสา. สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข. วารสารมนุษยศาสตร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 29(2): 1-22.

สุธิดา บัวสุขเกษม. แนวทางการพัฒนาบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2554.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี [งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

จักรธร พลคชา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในเขตเทสบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2563.

ธณัฐ วรวัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา.

[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2563.

Pike, Steven D. Destination Marketing : an integrated marketing communication approach. Massachusetts United States : Butterworth-Heinemann. Burlington; 2008.

Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York. Harper and Row Publications; 1973.

Cronbach, L. J. Essentials of Psychological Test. 5th ed. New York: Harper Collins; 1970.

กิตติมศักดิ์ คุ้มวงษ์. แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนวัดบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2555.

ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเข้มแข็งของชุมชนบ้านนาสะอุ้งตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน;

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2564; 10(1): 1-10.

Pelasol, J. Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. International Peer Reviewed Journal JPAIR Multidisciplinry Research is being certified for QMS ISO 9001:2008 by the Anglo Japanese American Registrars of the United Kingdom; 2012.