คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมหาบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ และนักศึกษา

Main Article Content

วิกานดา สง่ามิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมหาบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ และนักศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะมหาบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ประกอบด้วย สถานประกอบการ โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานสถานประกอบการ และบัณฑิตของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ ที่สำเร็จการศึกษาแล้วและที่กำลังศึกษาศึกษาอยู่ ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 10
คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พบว่า ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2)แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ และนักศึกษา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ควรสอดแทรกในเนื้อหาการสอนทุกรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคม การมีวินัย ตรงต่อเวลา มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ และมีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ด้านความรู้ ควรพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจที่สำคัญสามารถติดตามความก้าวหน้าเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับสมบูรณ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564], เข้าถึงได้จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/book/2241-higher-education.html.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. เอกสารแนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา; 2552

Likert, R. N. A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally &Company; 1970

ประสพชัย พสุนนท์. ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 2557; 1: 144-163.

น้ำเพ็ญ พรหมประสิทธิ์ และคณะ. ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ [รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย]. สงขลา;2558

นราวิชญ์ ชัยสิทธิ์ และคณะ. คุณลักษณะของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการตลาด

ตามความต้องการของสถานประกอบการในจังหวัดสงขลา [รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย]. สงขลา;2558

เพลินพิศ ศิริสมบูรณ์. คุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ประจำปีการศึกษา 2556 - 2557 (รุ่นที่ 15). วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก 2559;2:55-67.

อพันตรี พูลพุทธา. คุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตที่เรียนหมวดศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2563;2: 101-112.

สุนิดา แสงอาวุธ. มาตรฐานการเรียนรู้ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.