ผลของการใช้หุ่นจำลองอาจารย์ใหญ่เสมือนจริงทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ระบบกล้ามเนื้อของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Main Article Content

วรัฏฐา เหมทอง
สรศักดิ์ ทองเพชร
ประกายรัตน์ ทุนิจ
ภาสิต ศิริเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์สำหรับพยาบาลระบบกล้ามเนื้อก่อนและหลังเรียนโดยการใช้โมเดลหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ และหุ่นจำลองอาจารย์ใหญ่เสมือนจริง 2)
ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์สำหรับพยาบาลระบบกล้ามเนื้อในการใช้หุ่นจำลองอาจารย์ใหญ่เสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ใช้โมเดลหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์จำนวน 23 คน และกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ใช้หุ่นจำลองอาจารย์ใหญ่เสมือนจริง 23 คน โดยสุ่มจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนเนื้อหาระบบกล้ามเนื้อ วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนหลังเรียนของวิธีการสอนแต่ละกลุ่ม
และคะแนนความพึงพอใจด้วยวิธีการสอนของแต่ละกลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์สำหรับพยาบาลระบบกล้ามเนื้อก่อนเรียน และหลังเรียน ของกลุ่มควบคุมพบว่า การทดสอบความรู้หลังเรียน (x̄=49.57, S.D.=24.58) มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน (x̄ =11.74, S.D.=12.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) และกลุ่มทดลองการทดสอบความรู้หลังเรียน (x̄ =64.78, S.D.=21.44) มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน (x̄=12.17, S.D.=10.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <.05) 2) ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนของกลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ย (x̄ =64.78, S.D.=21.44) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (x̄ =49.57, S.D.=24.58) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) 3) ความพึงพอใจในการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ระบบกล้ามเนื้อ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้หุ่นจำลองอาจารย์ใหญ่เสมือนจริงอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄ =4.72, S.D.=0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ กึนออย. การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562; 20(3):172-86.

รวีโรจน์ ทองธานินท์ขวัญ วทัญญู อินเทศน์ เอกณรงค์ ธรรมตา เจษฎา บุญแก้ว วิษณุ ใจดี กาญจนา หาญศิริวัฒนกิจ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความจำเรื่องมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ในนักศึกษาแพทย์. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2562; 62 (3):593-605.

วรัฏฐา เหมทอง และ วีรยุทธ ศรีทุมสุข. ผลของการใช้ภาพเคลื่อนไหวสามมิติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระบบหัวใจของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2563; 26(1):94-103.

มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์, สุกัญญา อุรุวรรณ และ วชิราภรณ์ ชูพันธ์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ในการเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารระหว่างการเรียนโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่กับการใช้แอปพลิเคชันของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ 2562; 30(3):49-62.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วารุณี เกตุอินทร์ สุวรรณี แสงอาทิตย์ และวิโรจน์ ฉิ่งเล็ก. การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง อุทกเศียร (Hydrocephalus) สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554; 3(1): 91-103.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พยาบาลสาร 2559; 43(2): 142-51.

วาสนา กีรติจำเริญ และอิสรา พลนงค์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารและการนำเสนอของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E กับวิธีการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2563;14(1):29-43.

Azer S and Azer S. 3D Anatomy models and impact on learning : A review of the quality of the literature. Health Professions Education 2016; 2:80-98.

ตวงทิพย์ ลดาวัลย์ ธัญรดี ปราบริปู และจิรภัทร์ ลดาวัลย์. ผลการใช้ชุดเต้านมจำลองสามมิติ Check Your Breast

ต่อทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561; 10(2). 340-8.

Fredieu R, Kerbo J, Herron M, Klatte R, and Cooke M. Anatomical Models: a Digital Revolution. Medical Science Educato 2015; 25:183-94.

วินัย สยอวรรณ, ศราวุฒิ แพะขุนทด, ปุณณภา ชุมวรฐายี และเจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์.

การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการกดนวดชนิดยางพาราสำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต

ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560; 10(3): 71-82.

สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล ศิริพร ชุดเจือจีน และเขมจิรา ท้าวน้อย. ผลการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 14(2):70-81.

ผกาวดี พงษ์เกษ สุรพงษ์ อาทิตย์วงศ์ ศิริรักษ์ จันทครุ พิบูลย์ เรืองสุภาภิชาติ ณฐนันท์ พรหมพา กฤษณา แสงประไพทิพย์ และคณะ. ประสิทธิภาพการเรียนจุลกายวิภาคศาสตร์ของอวัยวะระบบรับความรู้สึกพิเศษโดยการใช้หุ่นจำลองยางพารา. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44; 30 มกราคม 2549; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จังหวัดกรุงเทพมหานคร: 2549. 527-32.

วิทยา โยหาเคน ปิยนัส สุดี แคน กอมณี ผการัตน์ เต็มเปี่ยม ดุษฎี มุสิกโปตก ทรงผล อุปชิตกุล และคณะ.

การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการใช้ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้ากับสื่อความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์.วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(5): 605-10

พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร อุบล สุทธิเนียม และเสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล. ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อค ต่อความพึงพอใจ

ความมั่นใจในตนเองในการเรียนและการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 256; 14(3): 59-70.