การพัฒนาความสามารถในการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ โดยใช้รูปแบบการสอน PEA Model สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

วิชชุดา ขำประถม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (TOEIC)  Part 4 ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน PEA Model 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (TOEIC)  Part 6 ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน PEA Model กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน PEA Model แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังและการอ่าน สถิติที่ใช้ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3)การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent แบบแผนการวิจัย คือ แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนหลัง The One-Group Pretest-Posttest Design ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลคะแนนความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (TOEIC)  Part 4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (TOEIC)  Part 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05       

Article Details

บท
Articles

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2551. [2] สถาบันการทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. กำหนดการและรายละเอียดการให้บริการการทดสอบวิชาสามัญ. (อินเทอร์เน็ท). 2563(เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก https://www.niets.or.th/th/. [3] อธิป จิตตฤกษ์ และ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. ทักษะแห่งอนาคต : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บุ้สเคป ; 2561. [4] ETS. Validity and Fairness of TOEIC Score Interpretions. (อินเทอร์เน็ท). 2564 (เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก https://www.ets/org/toeic/organization/research/topics/validity-fairness
[5] ETS. Mapping the TOEIC® Tests on the Common European Framework of Reference for Languages. (อินเทอร์เน็ท). 2564 (เข้าถึงเมื่อ 21พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก https://www.ets.org/s/toeic/pdf/toeic-cefr-flyer.pdf. [6] สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์. คู่มือการจัดระบบารเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2 . ปทุมธานี : ศูนย์เรียนรู้การผลิตและจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์ ; 2557. [7] วิชชุดา ขำประถม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (TOEIC)ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2562; 16: 847-858. [8] วันดี ศรีสวัสดิ์. ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลให้ความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษของวัยรุ่นไทยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน. (อินเทอร์เน็ต). 2556(เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2556/2556239509891.pdf. [9] มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โครงการส่งเสริมการผลิตตำรา และเอกสารประกอบการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549. [10] Graham, and Macaro, E. Strategy Instruction in Listening for lower-intermediate learners of French. Language Learning. Language Learning 2008; 58(4):1-66. [11] ปรียานุช ทองเกลี้ยง. ผลการใช้แบบฝึกประกอบภาพยนต์ที่มีต่อทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
[12] ชญานนท์ พูนทอง. การพัฒนาการฝึกอบรมผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องภาษาอังกฤษเพื่อการทดสอบระดับการใช้ภาษาสำหรับพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล(ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554. [13] Johnson, A.P. Teaching reading and writing: A Guidebook for Tutoring and Remediating Students. 1st ed. United Kingdom: Rowman & Littlefield Education ; 2008.
[14] Oxford. Tactics for the TOEIC Listening and Reading Test Practice Test 2. 1st ed. New York: Oxford University Press; 2018. [15] ลียานา พันธพงศ์ธรรม. การใช้กลวิธีการอ่านภาพส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาน(ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
[16] ปิยภัทร เรืองโรจน์. ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กรอบแนวคิด ‘แอคทีฟ’ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและกลยุทธ์การอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.