การศึกษาลักษณะความผิดพลาดและสาเหตุความผิดพลาดของการใช้คำกริยาที่แสดงการ รู้หรือเข้าใจ(知道类动词)กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

พรเพ็ญ จุไรยานนท์
ฐณัฐา ลาภเลิศ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความผิดพลาดในการใช้คำกริยาที่แสดงการรู้หรือเข้าใจ(知道类动词)และเพื่อวิเคราะห์สาเหตุความผิดพลาดในการใช้คำกริยาที่แสดงการรู้หรือเข้าใจ(知道类动词)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 ชั้นปีละ 10 คน จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ปีการศึกษา 1/2563 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยการสุ่มแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบการใช้ คำกริยาที่แสดงการรู้หรือเข้าใจ(知道类动词)จำนวน 20 ข้อ ผลวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการใช้คำกริยาที่แสดงการรู้หรือเข้าใจ(知道类动词)ลักษณะการใช้ที่ผิด จำนวน 347 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 57.83 ซึ่งสามารถอธิบายได้รายเอียดได้ดังนี้ ลักษณะการใช้ “知道” ที่ผิด จำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ลักษณะการใช้ “懂” ที่ผิด จำนวน 91ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 75.83 ลักษณะการใช้ “明白” ที่ผิด จำนวน 138 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 76.67 ลักษณะ
การใช้ “了解” ที่ผิด จำนวน 147ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 70 ลักษณะการใช้ “理解” ที่ผิด จำนวน 44 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 73.33
และลักษณะการใช้ “熟悉” ที่ผิด จำนวน 135 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 90 สาเหตุในการใช้คำที่ผิดส่วนใหญ่มาจาก การไม่เข้าใจในไวยากรณ์และข้อแตกต่างของความหมายของแต่ละคำที่ชัดเจน

Article Details

How to Cite
จุไรยานนท์ พ., & ลาภเลิศ ฐ. . (2022). การศึกษาลักษณะความผิดพลาดและสาเหตุความผิดพลาดของการใช้คำกริยาที่แสดงการ รู้หรือเข้าใจ(知道类动词)กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 103–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/254715
บท
บทความวิจัย

References

พิสุทธิ์ จันตะคุต. ความสำคัญของภาษาอังกฤษ.[อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564] เข้าถึงได้จาก

https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasaxangkvs

สุภิญญา เรือนแก้ว.ความสำคัญของภาษาจีนในปัจจุบัน.[อินเตอร์เน็ต].2552 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://ning-50010110079.blogspot.com/

บรรจบ พันธุเมธา. ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2541.

เหยิน จิ่ง เหวิน.สุดยอดคัมภีร์ไวยากรณ์จีน ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2558.

เฟื่องเกษ ทองวันชัย. การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการใช้กาลในการสนทนาของ นักศึกษาหลักสูตรภาษาสเปนมหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2558; 32(2) :113-138.

ศุภชัย แจ้งใจ. การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำ พ้องความภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย.วารสารสงขลานครินทร์

ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2552; 15(6):1026-1036.

ทิฆัมพร ออมสิน. การศึกษาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษา.(อ.ม.)อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาจีน).วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งที่ 6 2558; 3(6) : 230-240.

เพ็ญสุดา เชาว์วะณิช. ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาจีนของนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2543 และ 2544: [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย; 2545.

Zhao Xin and Li Ying. Analysis of Chinese Synonyms: Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language [dissertation]: Guangzhou: Jinan University; 2002.