การพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)

Main Article Content

สมรักษ์ ชื่นอร่าม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพและข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนฯและประเมินผล และ 4) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 639 คน จำแนกเป็นครูผู้สอน 36 คน ครูกลุ่มอ้างอิง 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 454 คน ผู้ปกครองนักเรียน 125 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารได้รูปแบบการบริหารมีชื่อว่า 3บีดีพีเออีบี ประกอบด้วย หลักการ คือ การบริหารงานวิชาการโดยเน้นการสร้างเจตคติที่ดี การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการมีกลุ่มอ้างอิงให้คล้อยตามการปฏิบัติงาน
ย่อมทำให้ครูมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูและยกระดับทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียนกระบวนการบริหาร มี 8 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ร่วมสร้างเจตคติ ขั้นที่ 2 ร่วมสร้างกลุ่มอ้างอิง ขั้นที่ 3
ร่วมสร้างการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ขั้นที่ 4 ร่วมคิดและตัดสินใจ ขั้นที่ 5 ร่วมวางแผน ขั้นที่ 6 ร่วมปฏิบัติการ ขั้นที่ 7 ร่วมประเมินผล ขั้นที่ 8 ร่วมรับผลประโยชน์ โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่
1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน 2)ครูกลุ่มอ้างอิงเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน
3) ครูมีความเชื่อว่าตนมีความรู้และความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนได้
4) ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสนับสนุนส่งเสริมและกำกับติดตามการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน
5) ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มความสามารถ
6)ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจมีเจตคติที่ดีและเห็นแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน
2.ผลการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ปรากฏผลดังนี้ 1) สมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็กฯหลังการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนอยู่ในระดับสูงมาก 2) ความพึงพอใจของครูและครูกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อรูปแบบการบริหารตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนหลังการดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูอยู่ในระดับสูงมาก และมีความก้าวหน้าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 25) 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด 5) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วัชรา เล่าเรียนดี. การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

สามารถ ทิมนาค. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของ กลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ

การจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย ด้วยกระบวน การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

ร่วมกับแนวคิดการออกแบบการสอนเชิงระบบ (Instructional System Design) [ ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต].นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

Ajzen, I., & Madden, T. J. Prediction of goal directed behavior: Attitudes, intentions, and perceived behavioral control. Journal of Experimental Social Psychology 1986;22(5):453-474.

Fishbein. Attitudinal and Normative Factors as Determinants of Gay man’s Intentions to Perform AIDS-Related Sexual Behaviors : A Multisite Analysis. Journal of Applied Social Psychology 1980;22 (3) : 999-1011.

ยุพิน ยืนยง. การพัฒนารูปแบบการนิเทศหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู

[ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

วชิรา เครือคำอ้าย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาประสบการณ์วิชาชีพครู

เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา [ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2552.

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ [ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.

Rolfe, A. Mentoring Works. [Internet]. 2008 [cited 2008 November 5]. Available from: http://www.mentoring-works.com/definitions_of_mentoring.html.

ชัยวรงค์ เวียงพล การพัฒนาการดำ เนินงานการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่าง พอเพียงของนักเรียน

โรงเรียนบ้านลาดไทรงาม อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.