การพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

นิภัทร์ การะเวก
ทัศนีย์ จันติยะ
สุภิญญา ปัญญาสีห์
จิราภรณ์ กาแก้ว
โชคชัย เตโช
ศศิธร ศรีพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD (Student Team Achievement Division) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษด้านการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 38 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 (อ31101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/)  ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที 


                        ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD หลังการทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และผลสัมฤทธิ์ในการออกเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ภาษาอังกฤษ (/s/, /z/, /ed/) สูงขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.

ประกอบ ผลงาม. เอกสารประกอบการสอนสัทศาสตร์. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท; 2549.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2544.

บำรุง โตรัตน์. วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2547.

Ghaith, G. M. and Yaghi, H. Effect of cooperative learning on the acquisition of second language rules and mechanics. System; 1998

สพลณภัทร ทองสอน. (2558). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนัเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 26(1):147-158.

Hewings,M.,&Goldstein,S. Pronunciation plus: Practice through interaction. Cambridge, UK: Cambridge University Press; 1998.

รักษ์สุดา ทรัพย์มาก. การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีร่วมมือกันเรียนรู้แบบ ผสมผสาน(CIRC) และการประเมินตามสภาพจริง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2548.

ศศิกานต์ โฆษิตตระกูล. ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาที่เรียน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.